โครงการอบรมวิชาการ Generative AI สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรม รุ่นที่ 1 **** กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ ****

________________________แบบฟอร์มนี้ไม่ใช่แล้ว________________


แบบฟอร์มสมัครเข้ารับการอบรม โครงการจัดอบรมวิชาการ Generative AI สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรม รุ่นที่ 2

ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

หลักการและเหตุผล ในปัจจุบัน เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการยอมรับอย่างแพร่หลายของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยมีการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ ผู้ช่วยเสมือนจริง อุปกรณ์สมาร์ทโฮม การวินิจฉัยทางการแพทย์และอื่น ๆ อีกมากมาย 

Generative AI คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ ได้อย่างหลากหลายแบบ อัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เพลง หรือวิดีโอ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นแหล่งอ้างอิง หรือใช้คำสั่งของผู้ใช้งานเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการได้ Generative AI มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและนวัตกรรมในวงการสถาปัตยกรรม เนื่องจาก Generative AI สามารถช่วยสถาปนิกในการออกแบบและสร้างผลงานสถาปัตยกรรมที่มีความสร้างสรรค์แปลกใหม่และมีความสมจริง โดยลดเวลาและความยุ่งยากในการวาดแบบหรือสร้างโมเดล 3 มิติลง นอกจากนี้ Generative AI ยังเป็นโอกาสให้สถาปนิกได้เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง โดยสามารถสร้างผลงานที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือผสมผสานสไตล์วัสดุ หรือฟังก์ชันต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ หรือแม้แต่สร้างผลงานที่เป็นไปไม่ได้ในโลกความเป็นจริง แต่มีความน่าสนใจและมีค่าทางศิลปะ 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ริเริ่มโครงการจัดอบรมวิชาการ Generative AI สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้สถาปนิกได้ใช้งานเทคโนโลยีนี้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรม และรับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ 
  1. เพื่อแนะนำแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับ AI และ Generative AI 
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการเขียนคำสั่ง AI (เขียนพร้อมพ์) 
  3. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
  1. บุคคลที่เข้าอบรมได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ AI และ Generative AI 
  2. บุคคลที่เข้าอบรมมีความเข้าใจหลักการเขียนคำสั่ง AI (เขียนพร้อมพ์) และเป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบและสามารถนำไปใช้ต่อยอดกับการทำงานได้ 
ระยะเวลาของโครงการ โครงการจัดอบรมทั้งหมด 1 วัน รวมทั้งสิ้น 6 ชม. ( วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 9:00น. - 16:00น.)

สถานที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ผู้รับการอบรม สถาปนิก นักออกแบบ และบุคคลทั่วไป 

ค่าลงทะเบียนเข้าอบรม 3,000 บาท ต่อ ผู้เข้าอบรม (รวมอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม)

ประกาศนียบัตร ผู้อบรมที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์และจำนวนเวลาเรียนตามที่กำหนด มีสิทธิได้รับ ประกาศนียบัตร การ ผ่านการอบรมจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ตารางการอบรม 

9:00-12:00น. (3 ชม.)
  • Special lecture "Architecture at the Age of AI" by Dr.Matias del Campo
  • แนะนำตัวอย่างการใช้ Generative AI มาช่วยในการออกแบบ
  • แนะนำเครื่องมือในการสร้างผลงาน Generative AI
12:00-13:00น. (1 ชม.) พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00น. (3 ชม.)
  • การกำหนดโครงสร้างพร้อมพ์ และเทคนิคการเขียนพร้อมพ์
  • การใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนพร้อมพ์
  • ฝึกปฏิบัติการเขียนพร้อมพ์สำหรับสร้างภาพแนวคิดเกี่ยวกับอาคาร     
รายชื่อวิทยากร 
  1. ผศ.ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ (สถาปนิก/นักออกแบบพาราเมทริก/ผู้เชี่ยวชาญด้าน Generative AI)
  2. คุณกฤษณ์ นาคะชาต (สถาปนิก/IT Specialist บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด)
สิ่งที่ต้องใช้ในการเข้ารับการอบรม
  • เครื่องคอมพิวเตอร์แลปท้อป แท็ปเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • ติดตั้งโปรแกรม Discord https://discord.com/
Sign in to Google to save your progress. Learn more
Email
*
ท่านรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรม และยินดีให้ข้อมูลประกอบการสมัคร
*
Required
Next
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of parabolab. Report Abuse