แบบประเมินอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
แบบประเมินฉบับนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
ส่วนที่ 2 ประเมินพฤติกรรมของอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก
Sign in to Google to save your progress. Learn more
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
คำชี้แจง  โปรดเติมข้อความในช่องว่างและเลือกช่องคำตอบ
รุ่นที่ *
2. เพศ *
3. ศาสนา *
4. อายุ *
ส่วนที่ 2  แบบประเมินอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก
คำชี้แจง
แบบสอบถามฉบับนี้ เป็นแบบประเมินอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก คือ “บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” ประกอบด้วย
- จิตบริการ (Service Mind)
- การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
- การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ (Participation)
กรุณาเลือกในข้อที่ตรงกับความเป็นจริงและในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นตามการรับรู้ของท่านมากที่สุด
5 =  แสดงพฤติกรรมนั้น สม่ำเสมอ หมายถึง แสดงพฤติกรรมนั้น ทุกครั้ง ของการให้บริการการดูแลผู้รับบริการ
4 = แสดงพฤติกรรมนั้น บ่อยครั้ง หมายถึง แสดงพฤติกรรมนั้น 3 ใน 4 ครั้ง ของการให้การดูแลผู้รับบริการ
3 = แสดงพฤติกรรมนั้น บางครั้ง หมายถึง แสดงพฤติกรรมนั้น 2 ใน 4 ครั้ง ของการให้การดูแลผู้รับบริการ
2 =  แสดงพฤติกรรมนั้น น้อย หมายถึง แสดงพฤติกรรมนั้น 1 ใน 4 ครั้ง ของการให้การดูแลผู้รับบริการ
1 = ไม่เคย แสดงพฤติกรรมนั้น หมายถึง ไม่เคยแสดงพฤติกรรมนั้นเลยแม้แต่ ครั้งเดียว

จิตบริการ (S=Service Mind)
    คำนิยาม การเอาใจใส่ในความทุกข์ และความต้องการของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมที่จะให้บริการด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ด้วยความรัก ความเมตตา ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน วางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ คำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผล ยอมรับบุคคลบนพื้นฐานของความเข้าใจผู้อื่นตามความเป็นจริง ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
          (1)  ให้บริการด้วยความเต็มใจ  ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยยอมรับบุคคลบนพื้นฐานของความเข้าใจผู้อื่นตามความเป็นจริง
          (2)  ให้บริการด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ด้วยความรัก ความเมตตา
          (3)  ให้บริการโดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
          (4)  ให้บริการด้วยใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ คำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผล

1. กระตือรือร้นในการให้บริการ *
2. ให้บริการด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส *
3. ควบคุมอารมณ์และแสดงออกต่อผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม *
4. แสดงกิริยา ท่าทาง สุภาพ อ่อนน้อม อ่อนโยน ในการให้บริการ *
5. พูดคุย ทักทาย ซักถามด้วยท่าทีห่วงใย *
6. รับฟังผู้รับบริการด้วยความตั้งใจ *
7. ตอบคำถามผู้รับริการด้วยความเต็มใจ *
8. ให้บริการ หรือกระทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน *
9. เสียสละ อุทิศตนในการให้บริการหรือกระทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม *
10. อาสาช่วยเหลืองานโดยไม่ต้องร้องขอ *
11. ดูแล ช่วยเหลือผู้รับบริการ ด้วยความใส่ใจ เต็มใจ และเข้าใจตามเงื่อนไขเฉพาะของบุคคล *
12. ยอมรับความคิด พฤติกรรม และความเป็นตัวตนของผู้รับบริการ ไม่เอาความคิดของตนเองไปตัดสิน *
13. ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพจริงของผู้รับบริการ *
14. ปฏิบัติงานโดยยึดประโยชน์ของผู้รับบริการและหน่วยงานเป็นหลัก *
15. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในการให้บริการ *
16. ให้บริการอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ *
การคิดเชิงวิเคราะห์ (A=Analytical Thinking)
   คำนิยาม  กระบวนการจำแนก ไตร่ตรองข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และน่าเชื่อถือ ตามสภาพความเป็นจริง ในการวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ อย่างมีวิจารณญาณ โดยเชื่อมโยงความรู้เข้าสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหาของผู้รับบริการอย่างสร้างสรรค์ ที่สอดคล้องกับบริบท สภาพการดำรงชีวิต
   ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
         (1)  รวบรวมข้อมูลที่เป็นจริง มีความสอดคล้องกับบริบทของผู้รับบริการทุกมิติ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และเลือกสรรข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
         (2)  วิเคราะห์ แยกแยะ จัดกลุ่ม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล และความต้องการของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง บนฐานข้อมูลที่เป็นจริง
         (3)  ไตร่ตรอง ตรวจสอบข้อมูลที่ได้ อย่างรอบคอบ มีเหตุผล และถูกต้อง
         (4)  ระบุปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ เสนอแนวทางการแก้ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ตามลำดับความสำคัญของปัญหา โดยเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการ อย่างสร้างสรรค์และสอดคล้องกับบริบท
         (5)  พัฒนากระบวนการคิดของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ยึดติดกับกรอบแนวคิด หรือความรู้วิชาการ หรือประสบการณ์ของตนเองเพียงอย่างเดียว

1. ตั้งคำถามกับผู้รับบริการตรงประเด็น เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ ปัญหาของผู้รับบริการ *
2. รวบรวมข้อมูลที่เป็นจริง และสอดคล้องกับบริบทของผู้รับบริการ *
3. รวบรวมข้อมูลผู้รับบริการทุกมิติ ครบถ้วน สมบูรณ์ *
4. รวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย *
5. เลือกสรรข้อมูลที่น่าเชื่อถือ *
6. แยกแยะข้อมูล ปัญหา ความต้องการ ของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง *
7. จัดกลุ่มข้อมูล ปัญหา ความต้องการ ของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องบนฐานข้อมูลที่เป็นจริง *
8. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลในมิติต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล และถูกต้อง บนฐานข้อมูลที่เป็นจริง *
9. ทบทวน และตรวจสอบข้อมูลที่ได้ อย่างรอบคอบ มีเหตุผล และถูกต้อง *
10. อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ *
11. ระบุปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการที่สอดคล้องกับบริบท ตามสภาพจริง *
12. เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย และสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการ และสอดคล้องกับบริบทตามสภาพจริง *
13. วางแผนแก้ปัญหาตามลำดับความสำคัญของปัญหา  โดยยึดหลักวิชาการ และสอดคล้องกับบริบทตามสภาพจริง *
14. รู้และยอมรับจุดดี/จุดด้อยของตนเองตามความเป็นจริง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง *
15. เปิดใจรับฟัง และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง *
16. คิดเชิงบวกบนพื้นฐานของความเป็นจริง *
17. เรียนรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ *
การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ (P=Participation)
     คำนิยาม  การให้บริการสุขภาพ โดยให้ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ในการรับรู้ปัญหาและ ความต้องการของตนเอง รวมทั้งตัดสินใจแก้ปัญหาสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้
   ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
          1)  การสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ
          2)  การสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ
          3)  การส่งเสริมบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้มีการพัฒนาศักยภาพ สามารถแก้ปัญหาสุขภาพ นำไปสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ ทั้งนี้ผู้รับบริการ หมายถึง บุคคล ครอบครัว และชุมชน

1. ให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพ และสิทธิที่เกี่ยวข้องแก่ผู้รับบริการ *
2. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการให้ข้อมูล ความต้องการ และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ *
3. เปิดโอกาส/กระตุ้น ให้ผู้รับบริการซักถามข้อสงสัย ข้อกังวล ข้อมูลต่างๆ จนเกิดความเข้าใจ *
4. ให้เวลารับฟังความคิดเห็นหรือข้อมูลของผู้รับบริการ *
5. สรุปปัญหา และความต้องการร่วมกับผู้รับบริการ *
6. ร่วมกับผู้รับบริการ กำหนดเป้าหมาย และหาแนวทางการปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด *
7. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ที่เหมาะสมกับบริบท และความต้องการ *
8. อำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่เลือก เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย *
9. ร่วมกับผู้รับบริการ ประเมินศักยภาพของผู้รับบริการในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ *
10. สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการให้สามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน *
ข้อเสนอแนะ
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. Report Abuse