งานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “บทบาทของเชื้อเพลิงชีวภาพกับนโยบายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของไทย”
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565
เวลา: 13:00 -15:30น.
Zoom online

หลักการและเหตุผล
ด้วยประเทศไทยตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 และความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 รวมถึงเป้าหมายใหม่ของการลดก๊าซเรือนกระจก 40% ของแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ พ.ศ. 2564-2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030 หรือ NDC) ที่ไทยได้ประกาศไว้ในการประชุม COP26 ณ เมืองกลาสโกวส์

เป้าหมายดังกล่าว ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับประเทศไทย เนื่องจากในแต่ละปีภาคการเกษตรของประเทศไทยมีผลิตผลจากการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก และภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีเศษวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย เหง้ามันสำปะหลัง ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เป็นต้น เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้ หากทิ้งไว้ท้ายนา หรือสวน จะเกิดการเน่าเสียและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้ ในขณะเดียวกันหากทำลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้ด้วยการเผา จะก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพอากาศ

ดังนั้น การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญยิ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลภาวะทางอากาศ ทั้งนี้ แนวทางหนึ่งในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร คือ การนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรมีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรต จึงมีความเหมาะสมและสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตพลังงานในรูปแบบก๊าซชีวภาพ ซึ่งก๊าซชีวภาพนี้สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า หรือก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับใช้ในยานยนต์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การผลิตก๊าซชีวภาพในแต่ละเทคโนโลยีมีศักยภาพ  ต้นทุน ประโยชน์ และความคุ้มค่าที่แตกต่าง การผลิตก๊าซชีวภาพมีทั้งโอกาสและความท้าทายในกับช่วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นเป้าหมายที่  ท้าทายสำหรับประเทศไทยอีกด้วย

Sign in to Google to save your progress. Learn more
Email *
Title (คำนำหน้า) *
Full name (ชื่อ-นามสกุล) *
Position (ตำแหน่ง) *
Organization (หน่วยงาน) *
Phone number (เบอร์โทรศัพท์) *
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy