กิจกรรมอบรมให้ความรู้สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด และทดสอบผ่านระบบออนไลน์                
โดย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง
Чтобы сохранить изменения, войдите в аккаунт Google. Подробнее…
Электронная почта *
โครงการ สื่อสร้างสรรค์ ภูมิคุ้มกันยาเสพติด
ยาเสพติดคืออะไร
ยาเสพติด หมายถึง ยา หรือ สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ หรือพืช ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธี กิน ดม สูบ หรือ ฉีด แล้ว จะทำให้เกิดผลต่อร่างกาย และจิตใจในลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. ต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้นเรื่อย ๆ
2. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
3. เมื่อถึงเวลาเสพแต่ไม่ได้เสพจะทำให้เกิดอาการขาดยา
4. สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
ประเภทของสารเสพติด
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้จัดประเภทของยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เป็นยาที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาอี และ ยาบ้า* ซึ่งถื่อว่าเป็นสารเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย

ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน เป็นต้น

ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้ เป็นยาที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย และมีประโยชน์ มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน เป็นต้น

ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)  

ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1 ถึงประเภทที่4เช่น   พืชกระท่อม*  เห็ดขี้ควาย  เป็นต้น
**เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2564
สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ.1961 และพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ
มาตราการ แก้ไขปัญหายาเสพติด
1.มาตราการทางสิ่งแวดล้อม
        สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญต่อการ แก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นอย่างมาก ยิ่งใกล้ชิดกับแหล่งที่มีการค้าสารเสพติดสาเหตุสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการใช้สารเสพติด เป็นอันดับต้นๆ

2.มาตราการทางการศึกษา
       การมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน การใช้มาตรการดำเนินงานแบบผสมผสานจัดการศึกษาแบบบูรณาการในทุกรายวิชาเพื่อให้รู้ถึงผลกระทบของสารเสพติด  พัฒนาการกิจกรรมร่วมกันรวมถึงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา  มีหน่วยงานในสถานบันการศึกษาเพื่อสอดส่องดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

3.มาตราการทางกฎหมาย
       ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยมีอยู่หลายฉบับ ที่มีการใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
        - กลุ่มที่1 กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับยาเสพติด
        - กลุ่มที่2 พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และพระราชก าหนด
        - กลุ่มที่3 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ซึ่งแต่ละฉบับจะมีหลักการและเหตุผลที่แตกต่างกันตามบริบทของสังคมที่มีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา

4.มาตราการทางสังคม
       การแทรกแซง หรือสอดแทรก เป็นการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการ กับผู้ที่เริ่มมีปัญหาการใช้สารเสพติด  มาร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
ถือเป็นอีกหนึ่งในมาตราการทางสังคมที่จะ ช่วยให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้
หน่วยงานที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับยาเสพติด  -กระทรวงสาธารณสุข,-สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.),-ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ศอ.ปส.ชาติ),-กรมการแพทย์สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (กรมการแพทย์),-TO BE NUMBER ONE (กรมสุขภาพจิต),-กองควบคุมวัตถุเสพติด (สนง.อย.)กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ช่องทางการให้ข้อมูลและแจ้งปัญหาความเดือดร้อนจากยาเสพติด
ชื่อ-สกุล *
ชื่อสถานศึกษา *
Далее
Очистить форму
Никогда не используйте формы Google для передачи паролей.
Компания Google не имеет никакого отношения к этому контенту. Сообщение о нарушении - Условия использования - Политика конфиденциальности