แบบรับฟังความคิดเห็น
คำชี้แจง: แบบฟอร์มนี้จัดทำขึ้นโดยส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อการกำหนดให้วาฬหลังค่อม (Megaptera novaeangliae) วาฬเบลนวิลล์ (Mesoplodon densirostris) และโลมาริสโซ (Grampus griseus) เป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562  
Sign in to Google to save your progress. Learn more
หลักการและเหตุผล
วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae) เป็นสายพันธุ์ที่พบอาศัยในทุก มหาสมุทรทั่วโลก มีการอพยพไปมาระหว่างพื้นที่เป็นระยะทางไกลทุกปี สำหรับประเทศไทยมีรายงานการพบเห็นวาฬหลังค่อมเพียงครั้งเดียวที่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2552 โดยมีหลักฐานภาพถ่ายจากนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกันกับวาฬโดยทั่วไป วาฬหลังค่อมมีโอกาสที่จะถูกจับติดพันเครื่องมือประมง หรือถูกจับระหว่างทำการประมงได้โดยบังเอิญ การติดพันเครื่องมือประมงส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า ความสามารถในการกินอาหารลดลง หรือการบาดเจ็บสาหัส ซึ่งอาจนำไปสู่การสืบพันธุ์ที่ลดลงหรือถึงกับเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าวาฬหลังค่อมเสียชีวิตจากเครื่องมือประมง นอกจากนี้ การโดนเรือเดินสมุทรชนโดยไม่ได้ตั้งใจก็สามารถให้วาฬหลังค่อมบาดเจ็บหรือตายได้ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งที่มีการจราจรทางเรือที่หนาแน่น ในระดับโลก IUCN Red List กำหนดให้วาฬหลังค่อมเป็นชนิดพันธุ์มีจำนวนประชากรอยู่ในระดับที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ต่ำ (Least Concern: LC) และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) กำหนดให้วาฬหลังค่อมเป็นสัตว์ป่าในบัญชีหมายเลข 1 สำหรับประเทศไทยกำหนดให้วาฬหลังค่อมอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species: EN) ทั้งนี้ เนื่องจากวาฬหลังค่อมเป็นชนิดพันธุ์ที่มีการอพยพในระยะไกลทั่วทั้งภูมิภาค ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบร่วมกันและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลก จึงสมควรเสนอให้วาฬหลังค่อมได้รับการขึ้นบัญชีเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 

วาฬเบลนวิลล์ (Blainville's beaked whale; Mesoplodon densirostris) อาศัยในทะเลเขตร้อนถึงเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยส่วนใหญ่พบในน่านน้ำลึกในมหาสมุทร แต่สามารถพบเห็นใกล้ชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณเกาะและขอบไหล่ทวีป สำหรับประเทศไทยมีรายงานการเกยตื้นของวาฬเบลนวิลล์เพียงครั้งเดียวที่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2554 วาฬเบลนวิลล์ได้รับภัยคุกคามจากการประมงเป็นครั้งคราวเช่นเดียวกับวาฬชนิดพันธุ์อื่นๆ โดยมีการเข้าไปพัวพันหรือถูกจับในการประมงอวนจับปลาโดยบังเอิญ นอกจากนี้ มลภาวะทางเสียงที่เกิดจากการเดินเรือมีส่วนในการคุกคามวาฬเบลนวิลล์ โดยการขัดจังหวะพฤติกรรมปกติของพวกมันและขับไล่พวกมันออกจากพื้นที่ที่สำคัญต่อการอยู่รอดของพวกมัน เช่น การผสมพันธุ์และการหาอาหาร กระแสการล่าจับสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์โดยเฉพาะกลุ่มโลมาและวาฬเหล่านี้จากธรรมชาติเพื่อขายให้แก่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่อาจทำให้จำนวนประชากรชนิดพันธุ์เหล่านี้มีแนวโน้มลดลงหากไม่มีมาตรการอนุรักษ์ การประเมินสถานะประชากรทั่วโลกจาก IUCN Red List of Threatened Species ในปี 2020 โดยระบุให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC) โดยไม่ทราบแนวโน้มประชากรในปัจจุบัน และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) กำหนดให้วาฬหลังค่อมเป็นสัตว์ป่าในบัญชีหมายเลข 2 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยกำหนดให้วาฬเบลนวิลล์อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (Data Deficient: DD) เนื่องจากมีรายงานการพบเพียงแค่ 1 ครั้ง จึงยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการประเมิน อย่างไรก็ดี เนื่องจากวาฬเบลนวิลล์เป็นชนิดพันธุ์ที่มีการอพยพในระยะไกลทั่วทั้งภูมิภาค ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบร่วมกันและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลก จึงสมควรเสนอให้วาฬเบลนวิลล์ได้รับการขึ้นบัญชีเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 

โลมาริสโซ (Risso’s dolphin; Grampus griseus) สามารถพบได้ในมหาสมุทรทุกแห่งจากบริเวณที่เป็นเขตร้อนจนถึงบริเวณขั้วโลก มีแหล่งที่อยู่อาศัยในทะเลเปิดที่เป็นน้ำลึกโดยเฉพาะบริเวณไหล่ทวีป สำหรับประเทศไทยไม่มีรายงานการพบเห็นโลมาริสโซในธรรมชาติ แต่มีรายงานการเกยตื้นของโลมาริสโซตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึง พ.ศ.2565 จำนวน 11 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ระยอง นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และจังหวัดตรัง เช่นเดียวกันกับโลมาและวาฬโดยทั่วไป ทั่วโลกพบโลมาริสโซ่มีการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ และมีแนวโน้มที่จะถูกรบกวนจากเสียงที่ดังมาจากมนุษย์ เช่น เสียงที่เกิดกิจกรรมการเดินเรือสมุทรและกิจกรรมทางการทหาร นอกจากนี้ กระแสความนิยมของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในการนำสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์โดยเฉพาะกลุ่มโลมาและวาฬทำให้มีการล่าจับสัตว์เหล่านี้จากธรรมชาติ อาจทำให้จำนวนประชากรชนิดพันธุ์เหล่านี้มีแนวโน้มลดลงหากไม่มีมาตรการอนุรักษ์ การประเมินสถานะประชากรทั่วโลกจาก IUCN Red List of Threatened Species ในปี 2020 โดยระบุให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC) และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) กำหนดให้วาฬหลังค่อมเป็นสัตว์ป่าในบัญชีหมายเลข 2 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย กำหนดให้โลมาริสโซอยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (Data Deficient: DD)  เนื่องจากมีรายงานการพบเพียง 11 ครั้ง จึงยังมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการประเมิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบร่วมกันและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลก จึงสมควรเสนอให้โลมาริสโซได้รับการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562  

Email *
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ร่วมแสดงความเห็น
หมายเลขบัตรประชาชน *
เพศ *
อายุ *
ระดับการศึกษา *
อาชีพ *
เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม *
ส่วนที่ 2 ความเห็นของผู้ร่วมแสดงความเห็น
2.1 การกำหนดให้ วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae) เป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 *
Captionless Image
2.2 การกำหนดให้ วาฬเบลนวิลล์ (Blainville's beaked whale; Mesoplodon densirostris) เป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 *
Captionless Image
2.3 การกำหนดให้ โลมาริสโซ่ (Risso’s dolphin; Grampus griseus) เป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 *
Captionless Image
2.4 ข้อเสนอแนะ
3. ช่องทางการประชาสัมพันธ์

ท่านได้ทราบข้อมูลการประชาสัมพันธ์เพื่อรับฟังความเห็นผ่านทางช่องทางใด
*
Required
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy