แบบประชาพิจารณ์ แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐)
คำชี้แจง
สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐) เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ดังนั้น เพื่อให้แผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) มีความสมบูรณ์และครบถ้วน สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงจัดทำแบบประชาพิจารณ์ (ร่าง) แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี ฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในส่วนของผู้บริหารและบุคลากรเพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

แบบประชาพิจารณ์ (ร่าง) แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐) ประกอบด้วยเนื้อหา  ๕  ส่วน ดังนี้
  ส่วนที่ ๑ : ภาพรวมของแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐)
  ส่วนที่ ๒ : ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  ส่วนที่ ๓ : ยุทธศาสตร์ ที่ ๒  พัฒนาการจัดการเรียนการสอน  
  ส่วนที่ ๔ : ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  ส่วนที่ ๕ : ยุทธศาสตร์ที่ ๔  พัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการก้าวสู่องค์กรดิจิทัล

สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ขอขอบพระคุณที่ร่วมเสนอแนะและให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และหวังเป็นอย่างยิ่งการจัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐) ครั้งนี้ จะบรรลุเป้าหมายและเกิดสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งไว้และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยต่อไป

Sign in to Google to save your progress. Learn more
๑.ปรัชญา
 “ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต  ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก” *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๒.ปณิธาน
“เป็นสถานที่ค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล”เป็นไปตามพระราชประสงค์ของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยขึ้น ใน ปีพ.ศ.๒๔๓๙ ที่จะให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ “เป็นสถานที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์” *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๓.วิสัยทัศน์
“เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล”ตัวชี้วัดวิสัยทัศน์ ๑. ความสำเร็จของการบูรณาการพันธกิจกับหลักพระพุทธศาสนา ๒. พุทธนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาจิตใจและสังคม *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๔.พันธกิจ
๑. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม   ๒. พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๕.การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT)
๑.จุดแข็ง (Strength)
๑. มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา (S ๑) ๒. สภาพแวดล้อมเหมาะสมและเอื้อต่อการเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาและองค์กรวิถีพุทธ(S๔) ๓. มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครอบคลุมทุกส่วนงาน ๔. มีทรัพยากรสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน  ๕. บุคลากรมีความรู้และทักษะตามสมรรถนะตามสายงาน ๖. มีเครือข่ายทางการศึกษาที่ครอบคลุมทั่วภูมิภาคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๗. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและออนไลน์แพลตฟอร์มมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๒.จุดอ่อน (Weakness)
๑. งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอต่อการพัฒนางาน เพื่อรองรับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ๒. ระบบและบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานจริง (W ๕ )๓. ขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความสามารถเชิงลึกด้านเทคโนโลยีและขาดการ Training แบบบูรณาการ (W ๒) ๔. การบูรณาการการเรียนการสอนกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยยังมีน้อย (W ๓) ๕. ระบบข้อมูล Big Data เชื่อมโยงข้อมูลส่วนงานยังไม่สมบูรณ์ (W ๗) ๖. อุปกรณ์เทคโนโลยีมีอายุการใช้งานเกินเกณฑ์มาตรฐาน *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๓.โอกาสการพัฒนา (Opportunity)
๑. นโยบายของรัฐบาลเน้นการเป็นไทยแลนด์ ๔.๐ ทำให้เอื้อต่อการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัย ๒. มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัย ๓.ปัจจุบันถือเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งชักนำให้ เด็ก เยาวชนและคนรุ่นใหม่มีความสนใจและมีความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวาง ๔. ชีวิตวิถีใหม่  (New Normal)  ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของมหาวิทยาลัย ๕. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความหลากหลาย *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๔.ภัยคุกคาม (Threat)
๑.  นโยบายรัฐให้การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์มากกว่าด้านสังคมศาสตร์ (T ๑) ๒.  เทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บุคลากรปรับตัวไม่ทัน จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ๓.  งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอ T๒  ๔. ผู้บวชเรียนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ลดน้อยลงและสถาบันอุดมศึกษามีการแข่งขันที่แข้มข้น รวมถึงการเปิดโอกาสให้บรรพชิตเข้าเรียนมากขึ้น  (T ๓) ๕.  การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (T ๕)  ชีวิตวิถีใหม่  (New Normal) ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของมหาวิทยาลัย (T ๖) *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๕.เกี่ยวกับยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ ๑  พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับพันธกิจของมหาวิทยาลัยยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน  ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล *
ข้อเสนอแนะ/ข้อปรับปรุง
๖.ข้อเสนอแนะอื่นๆ
Next
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. Report Abuse