กติกา และ การสมัครเข้าร่วมแข่นขัน
Research Coaching Competition in the 25th Annual Scientific Congress of Royal College of Surgeons of Thailand (The Investigator)

การประกวดผลงานทางวิชาการของศัลยแพทย์ในโครงการ research coaching competition  (รวม 3 รางวัล)

รางวัลชนะเลิศ:            ผู้ทำวิจัยจะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาทต่อทีม พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลรองชนะเลิศ :     ผู้ทำวิจัยจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทต่อทีม
รางวัลชมเชย:              ผู้ทำวิจัยจะได้รับเงินรางวัล 8,000 บาทต่อทีม

ทีมที่ปรึกษาของทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ


คุณสมบัติของทีมผู้ทำวิจัย

1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นจะต้องมีศัลยแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ที่ไม่ได้เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ( ยกเว้นสถาบันร่วมฝึกสอน และ สถาบันฝึกอบรมศัลยแพทย์สาธารณะสุขหลักที่ยังไม่มีแพทย์ประจำบ้านจบในปีการศึกษา 2563 สามารถส่งเข้าประกวดได้)  เป็นผู้วิจัยหลัก โดยหนึ่งทีมผู้วิจัยสามารถมีจำนวนผู้ร่วมวิจัยได้ 1-2 คน (รวมผู้วิจัยหลัก)
2. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นศัลยแพทย์ทั่วไป และเป็นสมาชิกราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
3. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องเลือกทีมที่ปรึกษาโดยจะสามารถเลือกได้แค่ 1 ทีมเท่านั้นตลอดการทำวิจัยและเสนอผลงาน โดยลงทะเบียนผ่านหน้า website และเลือกทีมที่ปรึกษา ภายในวันที่ 30 กรกฏาคม 2563
4. ต้องแนบหลักฐานการผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยมาด้วยในวันที่ส่ง full paper (ในกรณีที่จำเป็นต้องมี)
5. ส่งบทคัดย่อและ full paper เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาซึ่งพร้อมที่จะตีพิมพ์ เป็นภาษาอังกฤษ โดยกำหนดส่งบทคัดย่อ ถึงคณะกรรมการ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 และ ส่ง Full paper ใน วันที่  1 ตุลาคม 2563
6. นำเสนอผลงานในรูปแบบ Oral Presentation เป็นภาษาอังกฤษ ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่คณะกรรมการกำหนด


โดยทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันจะสามารถเลือกทีมสถาบันที่ปรึกษา ซึ่งจะมีหน้าที่ดังนี้

1. ประกอบด้วยศัลยแพทย์ ที่สังกัดสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ ที่อยู่ภายใต้ การกำกับของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย โดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 2 คน
2. ทีมที่ปรึกษามีหน้าที่ ช่วยเหลือ ดูแล แนะนำและตรวจสอบความถูกต้องของผู้แข่งขันในแต่ละทีมของตนจนสามารถนำเสนอผลงานและผลิตบทคัดย่อจนถึง full paper ที่สมบูรณ์ โดยสามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอน research question, แนะนำวิธีการวิจัยและสถิติ จนถึงตรวจทานบทความ แต่ไม่สามารถช่วยเก็บข้อมูล เขียน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหนึ่งอย่างใดกับข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยนั้นได้
3. ทีมที่ปรึกษาอาจมีชื่อหรือไม่มีชื่อในงานวิจัยที่นำมาใช้ในการประกวดนั้น เมื่อได้รับการตีพิมพ์ (โปรดระบุล่วงหน้าตั้งแต่ขั้นตอนการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย)
4. ทีมที่ปรึกษา ควร อยู่ในระหว่างการนำเสนอผลงาน และสามาถช่วยตอบคำถามเมื่อถูกซักถาม (อย่างไรก็ตามอาจมีผลต่อการ คิดคะแนน)
5. ทีมที่ปรึกษาสามารถรับปรึกษาจากทีมผู้ทำวิจัยได้มากกว่า 1 ทีม
Sign in to Google to save your progress. Learn more
Next
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy