แบบสอบถามพฤติกรรมการแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และเอื้ออาทร
คำชี้แจง
แบบสอบถามฉบับนี้ เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ขอให้นักศึกษาพิจารณาตามพฤติกรรมการแสดงออกจริงของตนเอง และทำเครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับพฤติกรรมของนักศึกษามากที่สุด ดังนี้

5 คะแนน แสดงพฤติกรรมสม่ำเสมอ       หมายถึง      แสดงพฤติกรรมนั้นทุกครั้งของการให้การดูแลผู้รับบริการ
4 คะแนน แสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง         หมายถึง      แสดงพฤติกรรมนั้น 3 ใน 4 ครั้งของการให้การดูแลผู้รับบริการ
3 คะแนน แสดงพฤติกรรมบางครั้ง          หมายถึง      แสดงพฤติกรรมนั้น 2 ใน 4 ครั้งของการให้การดูแลผู้รับบริการ
2 คะแนน แสดงพฤติกรรมน้อย               หมายถึง      แสดงพฤติกรรมนั้น 1 ใน 4 ครั้งของการให้การดูแลผู้รับบริการ
1 คะแนน ไม่เคยแสดงพฤติกรรมนั้น       หมายถึง      ไม่เคยแสดงพฤติกรรมนั้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว

Sign in to Google to save your progress. Learn more
รุ่นที่ *
1. ความซื่อสัตย์
1. พูดและตอบคำถามด้วยความเป็นจริง *
2. เมื่อเพื่อนทำผิดไม่พูดแก้ต่าง เพื่อให้เพื่อนพ้นผิด *
3. ไม่นินทากล่าวร้ายผู้อื่น *
4. ไม่ลอกการบ้านหรือให้เพื่อนลอกการบ้านของตน *
5. พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ และไม่นำของของผู้อื่นมาเป็นของตน *
6. ยอมรับผิดเมื่อตนกระทำผิด *
7. เก็บสิ่งของได้ส่งคืนเจ้าของ *
8. ตั้งในทำข้อสอบด้วยความสามารถของตนเองโดยไม่ทุจริต *
9. เข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา *
10. ทำหน้าที่ของตนเองตามที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มได้เป็นอย่างดี *
2. ความรับผิดชอบ
1. เข้าเรียนตรงเวลา *
2. ส่งงานตรงเวลาที่กำหนด *
3. ทำกิจกรรมจนบรรลุเป้าหมาย *
4. ทำงานอย่างมีระบบ ระเบียบ ละเอียด รอบคอบ *
5. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ *
6. ติดตามงานสม่ำเสมอ *
7. กระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียร ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน *
8. ยอมรับการกระทำของตน *
9. รู้จักหน้าที่และทำงานอย่างเต็มความสามารถ *
10. รู้จักวางแผนและปฏิบัติตามแผน *
3. ความเอื้ออาทร
3.1.สร้างค่านิยมเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นและมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
1. กล่าวทักทายผู้รับบริการด้วยคำพูดสุภาพและให้เกียรติ *
2. ซักถามอาการผู้รับบริการด้วยความสนใจ *
3. ดูแลผู้รับบริการโดยไม่แสดงท่าทีรังเกียจ *
4. ดูแลผู้รับบริการและครอบครัวเสมือนญาติสนิท *
5. ตอบสนองผู้รับบริการทันทีต่อการร้องขอความช่วยเหลือ *
6. ดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องแม้จะล่วงเวลามาบ้าง *
7. เคารพและยอมรับในความเป็นบุคคลของผู้รับบริการ *
8. พร้อมที่จะช่วยเหลือ / รอคอบเมื่อผู้รับบริการยังไม่พร้อม *
3.2.สร้างศรัทธาและความหวัง
1. ประเมินในสิ่งที่เป็นความเชื่อ และความหวังของผู้รับบริการ *
2. พูดปลอบโยนให้กำลังใจเมื่อผู้รับบริการรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง *
3. พูดให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการว่าจะได้รับการดูแลอย่างดี *
4. ปฏิบัติการดูแลผู้รับบริการด้วยความคล่องแคล่ว / มั่นใจ *
5. ส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีความเข้มแข็งในการเผชิญกับความทุกข์ *
6. เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมให้ผู้รับบริการในการดูแลสุขภาพตนเอง *
7. ให้ข้อมูลการเจ็บป่วย / การดูแลรักษาแก่ผู้รับบริการในสิ่งที่เป็นจริง *
8. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาตามความต้องการภายหลังให้ข้อมูล *
3.3. ไวต่อการรับรู้ของตนเองและผู้อื่น
1. รับฟังปัญหา / ความต้องการของผู้รับบริการอย่างตั้งใจ *
2. พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้รับบริการอย่างตรงไปตรงมา *
3. รับรู้ต่อความรู้สึก / อารมณ์ / พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้รับบริการได้เร็ว *
4. ตอบสนองต่อความรู้สึก / อารมณ์ / พฤติกรรมของผู้รับบริการเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย *
5. ไม่ตำหนิหรือโต้ตอบการแสดงออกไม่เหมาะสมของผู้รับบริการ *
6. ไม่แสดงความรู้สึกอึดอัดที่จะรับฟังและพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความเชื่อของผู้รับบริการ *
7. ระมัดระวังการเปิดเผยร่างกายหรือความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ *
8. เก็บเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ *
3.4. การสร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือและไว้วางใจ
1. แนะนำตนเองให้ผู้รับบริการทราบก่อนเสมอ *
2. จดจำชื่อและรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย กระดูแลรักษาของผู้รับบริการได้ *
3. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้พูดคุย / เล่าระบายความรู้สึกของตน *
4. สนใจสอบถามทุกข์สุขของผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ *
5. แสดงความรู้สึกร่วมกับผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสมทั้งคำพูดและการแสดงออก *
6. สบตาผู้รับบริการด้วยสายตาที่เป็นมิตรในขณะพูดคุยหรือให้การพยาบาล *
7. สัมผัสผู้รับบริการอย่างนุ่มนวล *
3.5 .การส่งเสริมและยอมรับการแสดงออกของความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบ
1. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกทั้งด้านบวกและด้านลบ *
2. แสดงความเข้าใจการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมของผู้รับบริการ *
3. กระตุ้นให้ผู้รับบริการเล่าระบายความรู้สึก *
4. พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกซึ่งกันและกันกับผู้รับบริการ *
5. ช่วยให้ผู้รับบริการมีอารมณ์ผ่อนคลายเมื่อมีความรู้สึกไม่ดี *
6. พูดชมเชยเมื่อผู้รับบริการปฏิบัติได้ถูกต้อง *
3.6. ใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์
1. อธิบายเหตุผลในการให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการ *
2. ให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการด้วยความรู้ที่ทันสมัย *
3. รับรู้ปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็ว *
4. ให้การพยาบาลได้ครอบคลุมด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ *
5. ปฏิบัติการพยาบาลและใช้ทักษะทางการพยาบาลได้ถูกต้อง *
6. ประเมินผลและติดตามการให้การพยาบาลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ *
7. เลือกวิธีให้การพยาบาลได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วยของผู้รับบริการ *
8. แจ้งผู้รับบริการทุกครั้งก่อนและหลังการให้การพยาบาล *
9. แจ้งอาการเปลี่ยนแปลงที่เป็นของการพยาบาลให้ผู้รับบริการทราบเป็นระยะอย่างมีเหตุผล *
3.7 ส่งเสริมสัมพันธภาพร่วมกันระหว่างบุคคลในกระบวนการสอนและการเรียนรู้
1. ประเมินความต้องการ การเรียนรู้ของผู้รับบริการก่อนให้คำแนะนำ *
2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การรักษาพยาบาลและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม *
3. เลือกโอกาสที่เหมาะสมในการพูดคุยหรือให้คำแนะนำ *
4. เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการรักษาพยาบาล *
5. เปิดโอกาสให้ญาติผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการรักษาพยาบาล *
6. สนับสนุนให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้รับบริการ *
7. พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับผู้รับบริการ *
8. แจ้งผู้รับบริการทราบในกิจกรรมการพยาบาลที่จะให้กับผู้รับบริการขออนุญาตผู้รับบริการก่อนให้กิจกรรมการพยาบาล *
3.8 ประคับประคอง สนับสนุน แก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคมและจิตวิญญาณ
1. จัดสิ่งแวดล้อมเป็นสัดส่วน สะอาดปลอดภัย *
2. ให้การดูแลผู้รับบริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก *
3. ช่วยบรรเทาความไม่สุขสบายผู้รับบริการในทุกรูปแบบ *
4. สนับสนุนให้ผู้รับบริการได้พูดคุยปรึกษากับผู้มีปัญหาคล้ายคลึงกัน *
5. จัดหา/อนุญาตให้นำสิ่งอำนวยความสะดวกมาใช้ตามความเหมาะสม *
3.9 ให้การช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล
1. ให้การดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ *
2. ให้การช่วยเหลือกิจกรรมผู้รับบริการตามสภาพการเจ็บป่วย *
3. ให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง *
4. ช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง *
5. เป็นตัวแทนผู้รับบริการในการติดต่อ ประสานงานกับทีมสุขภาพ *
6. ตอบสนองช่วยเหลือความต้องการด้านการออกกำลังกายตามความเหมาะสม *
7. ตอบสนองช่วยเหลือความต้องการด้านการพักผ่อนตามความเหมาะสม *
8. ให้ความคุ้มครองสิทธิ์ผู้รับบริการในทุกด้านตามสิทธิ์ที่มี *
9. ให้การช่วยเหลือผู้รับบริการทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน *
3.10 การสร้างเสริมพลังทางจิตวิญญาณ
1. รับฟังและยอมรับความเชื่อทางศาสนาของผู้รับบริการ *
2. รับฟังและยอมรับความเชื่ออื่นที่ไม่ขัดต่อการมีสุขภาพดีของผู้รับบริการ *
3. สนับสนุนผู้รับบริการให้เข้าใจความเชื่อและเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ *
4. โน้มนำให้ผู้รับบริการมองเห็นคุณค่าและสิ่งที่ดีในตนเอง *
5. ส่งเสริมให้ผู้รับบริการปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อ *
6. ใช้หลักศาสนาในการสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้รับบริการ *
Submit
Clear form
This form was created inside of วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. Report Abuse