ชสอ. ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นการแก้ไข (ร่าง) พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
การสำรวจครั้งนี้ ชสอ. ขอให้สหกรณ์สมาชิกตอบแบบสำรวจเพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการผลักดันแก้ไข (ร่าง) พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ทั้งนี้ ชสอ. ขอขอบคุณสหกรณ์สมาชิกที่ให้ความร่วมมือและกรุณาส่งแบบสำรวจกลับไปยัง ชสอ. ทาง QR Code แบบสำรวจความคิดเห็น ภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 : โปรดแสดงเครื่องหมาย • ในช่องที่ท่านแสดงความคิดเห็น
Sign in to Google to save your progress. Learn more
สหกรณ์ออมทรัพย์...จำกัด *
สหกรณ์มีข้อคิดเห็นใน (ร่าง) พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....  
1. เพิ่มความในมาตรา 10 คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ กำหนดอัตราการจัดสรรค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เข้ากองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการฟื้นฟูสหกรณ์ *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 1)
2. เพิ่มความในวรรคสามของมาตรา 42 โดยให้เงินปันผล และเงินเฉลี่ยคืนในแต่ละปีของสมาชิก  สหกรณ์มีสิทธินำมาหักชำระหนี้ที่สมาชิกรายนั้นผูกพันต้องชำระหนี้อยู่กับสหกรณ์ได้  โดยให้สหกรณ์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 2)
3. แก้ไขความในวรรคสองของมาตรา 50  โดยให้คณะกรรรมการดำเนินการสหกรณ์ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง  ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบสองปีนับแต่วันเลือกตั้งหรือนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่ในปีนั้นๆ ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีการจับสลากและให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 3)
4. เพิ่มความในมาตรา มาตรา  68/1 โดยให้กรรมการสหกรณ์ที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการไปปฏิบัติงานของสหกรณ์หรือไปร่วมการประชุมสหกรณ์  การอบรมหรือสัมมนาใดๆ ให้ถือเสมือนว่าการไปปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นการทำงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ   โดยให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ หรือมติของส่วนราชการนั้นๆ             การที่กรรมการสหกรณ์ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  ในสถานประกอบการ หรือหน่วยงานอื่นใดไปปฏิบัติงานของสหกรณ์หรือไปร่วมการประชุมสหกรณ์  การอบรมหรือสัมมนาใดๆ ให้ถือเสมือนว่าการไปปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นการทำงานให้แก่หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ  หรือนายจ้างในสถานประกอบการ  หรือหน่วยงานอื่นใดที่กรรมการสหกรณ์ปฏิบัติหน้าที่  โดยให้เป็นไปตามที่สหกรณ์และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  สถานประกอบการ หรือหน่วยงานอื่นใดจะได้ตกลงกัน *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 4)
5. เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา 89/2  การดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ อาจกำหนดให้แตกต่างกันไปตามขนาดของสหกรณ์ก็ได้  (1)..... (2)      .....         ในการออกกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษาที่มีภาควิชาสหกรณ์ *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 5)
6. เพิ่มความในวรรคหนึ่งของมาตรา 89/4 เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการที่ปรึกษาการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” ประกอบด้วย  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและผู้แทนสถาบันการศึกษาที่มีภาควิชาสหกรณ์ เป็นกรรมการ *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 6)
7. เพิ่มหมวด 4/2 กองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการฟื้นฟูสหกรณ์ โดยกำหนดความในมาตรา 89/5 ให้จัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการฟื้นฟูสหกรณ์ขึ้นในสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เรียกโดยย่อว่า “กรฟ.” เพื่อเป็นทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์ และเพื่อช่วยฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา 89/6 *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 7)
8. เพิ่มความในมาตรา 89/6 กรฟ. ประกอบด้วย(1) เงินค่าบำรุงที่สหกรณ์จ่ายแก่สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด(2) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ หรือบริจาค(3) เงินและทรัพย์สินที่ตกเป็นของ กรฟ.(4) เงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้รับมาตาม (2) และ (3)(5) ดอกผล รายได้ หรือประโยชน์อื่นใดของ กรฟ.เงินและทรัพย์สินของ กรฟ.ตามวรรคหนึ่งให้นำส่งเข้าบัญชี กรฟ. *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 8)
9. เพิ่มความในมาตรา 89/7 การรับเงิน  การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์การจัดการ และการจำหน่ายทรัพย์สินของ กรฟ. ให้เป็นไปตามระเบียบที่กองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการฟื้นฟูสหกรณ์กำหนด *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 9)
10.  เพิ่มความในมาตรา 89/8  ให้มีคณะกรรมการบริหาร กรฟ. ประกอบด้วย  ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ  ประธานกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศทุกประเภทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายประเภทละหนึ่งคน อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านการเงินหรือกฎหมายหรือการสหกรณ์  ซึ่งคณะกรรมการบริหาร กรฟ. แต่งตั้งไม่เกิน 3 คน  เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ  รองผู้จัดการใหญ่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการ กรฟ.มีอำนาจหน้าที่บริหาร กรฟ.  ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด           ในกรณีที่สหกรณ์ประเภทใด  ไม่มีชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศ  ให้สหกรณ์ประเภทนั้น ดำเนินการคัดเลือกกันเองเพื่อเป็นผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ตามวรรคหนึ่ง     *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 10)
11. เพิ่มความในมาตรา 89/9 ให้กรรมการบริหาร กรฟ. ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีในกรณีการแต่งตั้งกรรมการบริหาร กรฟ. แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการบริหาร กรฟ. ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 11)
12. เพิ่มความในมาตรา 89/10  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 89/9 กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) รัฐมนตรีให้ออก (4) เป็นบุคคลล้มละลาย (5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ   (6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 12)
13. เพิ่มความในมาตรา 89/11 การประชุมคณะกรรมการบริหาร กรฟ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก  กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในกรณีที่ประธานออกเสียงชี้ขาด  ต้องให้มีบันทึกเหตุผลทั้งสองฝ่ายไว้ด้วยให้มีการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละสี่ครั้ง *
กรณีที่ไม่เห็นด้วย (ข้อ 13)
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy