แบบประเมิน ITA ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน
(Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT)
ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในตัวชี้วัดที่ 1 - ตัวชี้วัดที่ 5 ประกอบด้วย
يمكنك تسجيل الدخول إلى Google لحفظ مستوى التقدم. مزيد من المعلومات
ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่
เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรอื่นในหน่วยงานของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามมาตรฐาน มีความโปร่งใส ปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และจะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้มาติดต่อทั่วไปหรือผู้มาติดต่อที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว รวมไปถึงการปฏิบัติงานอย่างมุ่งมั่น เต็มความสามารถ และมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งล้วนถือเป็นลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมีคุณธรรม นอกจากนี้ ยังประเมินการรับรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียกรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ๆ ของบุคลากรอื่นในหน่วยงานทั้งในกรณีที่แลกกับการปฏิบัติหน้าที่ และในกรณีช่วงเทศกาลหรือวาระสำคัญต่าง ๆ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือแม้แต่กรณีการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการรับสินบนได้ในอนาคต ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้

i1. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน ปฏิบัติงาน/ให้บริการแก่ผู้มาติดต่อ ตามประเด็นดังต่อไปนี้ มากน้องเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- เป็นไปตามขั้นตอนที่่กำหนด
- เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
i2. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน ปฏิบัติงาน/ให้บริการแก่ผู้มาติดต่อทั่วๆ ไป กับผู้มาติดต่อที่รู้จักเป็นการส่วนตัว อย่างเท่าเทียมกัน มากหน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i3. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ตามประเด็นดังต่อไปนี้ อย่างไร *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- มุ่งผลสำเร็จของงาน
- ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าธุระส่วนตัว
- พร้อมรับผิดชอบ หากความผิดพลาดเกิดจากตนเอง
i4. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการเรียกรับสิ่งดังต่อไปนี้ จากผู้มาติดต่อเพื่อแลกกับการปฏิบัติงาน การอนุมัติ อนุญาต หรือให้บริการ หรือไม่ (หมายเหตุ : เป็นการเรียกรับที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดให้รับไว้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ เป็นต้น) *
มี
ไม่มี
- เงิน
- ทรัพย์สิน
- ประโยชน์อื่นๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การลดราคา การรับความบันเทิง เป็นต้น
i5. นอกเหนือจากการรับจากญาตหรือจากบุคคล ที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคมแล้ว บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการรับสิ่งดังต่อไปนี้ หรือไม่ *
มี
ไม่มี
- เงิน
- ทรัพย์สิน
- ประโยชน์อื่นๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การลดราคา การรับความบันเทิง เป็นต้น
i6. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการใช้สิ่งดังต่อไปนี้ แก่บุคคลภายนอกหรือภาคเอกชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและคาดหวังให้มีการตอบแทนในอนาคต หรือไม่ *
มี
ไม่มี
- เงิน
- ทรัพย์สิน
- ประโยชน์อื่นๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การลดราคา การรับความบันเทิง เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ
เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ นับตั้งแต่การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีและเผยแพร่อย่างโปร่งใส ไปจนถึงลักษณะการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานอย่างคุ้มค่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และไม่เอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้อง การเบิกจ่ายเงินของบุคลากรภายในในเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าวัสดุอุปกรณ์ หรือค่าเดินทาง ฯลฯ ตลอดจนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจรับพัสดุด้วย นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานตนเองได้ ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ  ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้
i7. ท่านรู้เกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ของหน่วยงานของท่าน มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i8. หน่วยงานของท่าน ใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- คุ้มค่า
- ไม่บิดเบือนวัตถุประสงค์ของงบประมาณที่ตั้งไว้
i9. หน่วยงานของท่าน ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อประโยชน์ส่วนตัว กลุ่ม หรือพวกพ้อง มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถว 1
i10. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการเบิกจ่ายเงินที่เป็นเท็จ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าวัสดุอุปกรณ์ หรือค่าเดินทาง ฯลฯ มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถว 1
i11. หน่วยงานของท่าน มีการจัดซื้อจัดจ้าง/การจัดหาพัสดุ และการตรวจรับพัสดุในลักษณะดังต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- โปร่งใส ตรวจสอบได้
- เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง
i12. หน่วยงานของท่าน เปิดโอกาสให้ท่าน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ ตามประเด็นดังต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- สอบถาม
- ทักท้วง
- ร้องเรียน
ตัวชี้วัดที่ 3 การใใช้อำนาจ
เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ รวมไปถึงการใช้อำนาจสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำในธุระส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาหรือทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังประเมินเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลที่อาจเกิดการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ การซื้อขายตำแหน่ง หรือการเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มหรือพวกพ้อง ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ  ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้
i13. ท่านได้รับมอบหมายงานจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i14. ท่านได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามระดับคุณภาพของผลงานอย่างถูกต้อง มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i15. ผู้บังคับบัญชาของท่าน มีการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน หรือการให้ทุนการศึกษา อย่างเป็นธรรม มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i16. ท่านเคยถูกผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ทำธุระส่วนตัวของผู้บังคับบัญชา มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i17. ท่านเคยถูกผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือมีความเสี่ยงต่อการทุจริต มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i18. การบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของท่าน มีลักษณะดังต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- ถูกแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ
- มีการซื้อขายตำแหน่ง
- เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มหรือพวกพ้อง
ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินนของราชการ
เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการใช้ทรัพย์สินของราชการ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคลากรภายใน ในการนำทรัพย์สินของราชการของหน่วยงานไปเป็นของตนเองหรือนำไปให้ผู้อื่น และพฤติกรรมในการขอยืมทรัพย์สินของราชการ ทั้งการยืมโดยบุคลากรภายในหน่วยงานและการยืมโดยบุคคลภายนอกหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานจะต้องมีกระบวนการในการขออนุญาตที่ชัดเจนและสะดวก นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง เพื่อเผยแพร่ให้บุคลากรภายในได้รับทราบและนำไปปฏิบัติ รวมไปถึงหน่วยงานจะต้องมีการกำกับดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการของหน่วยงานด้วย ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ  ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้
i19. บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการเอาทรัพย์สินของราชการ ไปเป็นของส่วนตัว หรือนำไปให้กลุ่มหรือพวกพ้อง มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i20. ขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการ ไปใช้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของท่าน มีความสะดวกมากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i21. ถ้าต้องมีการขอยืมทรัพย์สินของราชการไปใช้ปฏิบัติงาน บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i22. บุคคลภายนอกหรือภาคเอกชน มีการนำทรัพย์สินของราชการไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง จากหน่วยงานของท่าน มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i23. ท่านรู้แนวปฏิบัติของหน่วยงานของท่าน เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i24. หน่วยงานของท่าน มีการกำกับดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว กลุ่ม หรือพวกพ้อง มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต
เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงาน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญของผู้บริหารสูงสุดในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง โดยหน่วยงานจะต้องทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และจัดทำแผนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงาน ที่จะต้องทำให้การทุจริตในหน่วยงานลดลงหรือไม่มีเลย และจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้บุคลากรภายใน ในการร้องเรียนเมื่อพบเห็นการทุจริตภายในหน่วยงานด้วย นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องมีกระบวนการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการทุจริตภายในหน่วยงาน รวมถึงการนำผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ จากทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานไปปรับปรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการทุจริต ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้

i25. ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานของท่าน ให้ความสำคัญ กับการต่อต้านการทุจริต มากน้อยเพียงใด *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถวที่ 1
i26. หน่วยงานของท่าน มีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ หรือไม่ *
มี
ไม่มี
- ทบทวนนโยบายหรือมาตรการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
- จัดทำแผนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงาน
i27. ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานของท่าน ได้รับการแก้ไข มากน้อยเพียงใด (หมายเหตุ : หากท่านเห็นว่าหน่วยงานของท่านไม่มีปัญหาการทุจริตให้ตอบ "มากที่สุด") *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถว 1
i28. หน่วยงานของท่าน มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ ต่อการทุจริตในหน่วยงาน มากน้อยเพียงใด (หมายเหตุ: หากหน่วยงานของท่านไม่มีการทุจริต จึงทำให้ไม่มีการลงโทษทางวินัย ให้ตอบ "มากที่สุด") *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- เฝ้าระวังการทุจริต
- ตรวจสอบการทุจริต
- ลงโทษทางวินัย เมื่อมีการทุจริต
i29. หน่วยงานของท่าน มีการนำผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานไปปรับปรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน มากน้อยเพียงใด (หมายเหตุ: ฝ่ายตรวจสอบภายใน หมายถึง ส่วนงานตรวจสอบภายในของหน่วยงาน ฝ่ายตรวจสอบภายนอก หมายถึง หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นต้น) *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
แถว 1
i30. หากท่านพบเห็นแนวโน้มการทุจริตที่จะเกิดขึ้นในหน่วยงานของท่าน ท่านมีความคิดเห็นต่อประเด็นดังต่อไปนี้ อย่างไร *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- สามารถร้องเรียนและส่งหลักฐานได้อย่างสะดวก
- สามารถติดตามผลการร้องเรียนได้
- มั่นใจว่าจะมีการดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา
- มั่นใจว่าจะปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อตนเอง
i30. หากท่านพบเห็นแนวโน้มการทุจริตที่จะเกิดขึ้นในหน่วยงานของท่าน ท่านมีความคิดเห็นต่อประเด็นดังต่อไปนี้ อย่างไร *
น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
น้อย
มาก
มากที่สุด
- สามารถร้องเรียนและส่งหลักฐานได้อย่างสะดวก
- สามารถติดตามผลการร้องเรียนได้
- มั่นใจว่าจะมีการดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา
- มั่นใจว่าจะปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อตนเอง
التالي
محو النموذج
عدم إرسال كلمات المرور عبر نماذج Google مطلقًا.
لم يتم إنشاء هذا المحتوى ولا اعتماده من قِبل Google. الإبلاغ عن إساءة الاستخدام - شروط الخدمة - سياسة الخصوصية