การพัฒนากลยุทธ์ความยั่งยืนของธุรกิจดิจิทัลประเภทอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย
ด้วยดิฉัน นางสาวพิชญา ขันธะชวนะ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต มีความประสงค์ทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การพัฒนากลยุทธ์ความยั่งยืนของธุรกิจดิจิทัลประเภทอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย" ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ
.
1) ทำให้ได้แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ความยั่งยืนของธุรกิจดิจิทัลประเภทอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย
2) ทำให้ทราบถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของกลยุทธ์ความยั่งยืนของธุรกิจดิจิทัลประเภทอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย
.
ท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมการวิจัยนี้เพราะท่านอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย คือ
.
1) ท่านเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในประเทศไทยที่ยังดำเนินกิจการอยู่อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป
.
2) ธุรกิจของท่านมีช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (อย่างน้อย 1 ช่องทาง) ได้แก่
- เว็บไซต์ (Website)
- ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Marketplace) เช่น Shopee, Lazada ฯลฯ
- สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Facebook, Instagram, Tiktok, Line OA ฯลฯ
- แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ (Online Food Delivery Applications) เช่น Grabfood, Lineman, Robinhood ฯลฯ
.
=========================================
โดยจะใช้ระยะเวลาในการทำแบบสอบถามนี้ ประมาณ 5 นาที
ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้
.
ส่วนที่ 1 : คำถามคัดกรองเบื้องต้น
ส่วนที่ 2 : ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ฯลฯ
ส่วนที่ 3 : ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ความยั่งยืนของธุรกิจดิจิทัลประเภทอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย
.
เนื่องจากแบบสอบถามประกอบด้วยคำถามหลายข้อ จึงขอความกรุณาให้ท่านพิจารณาตอบตามความรู้สึกของท่านให้มากที่สุด โดยข้อมูลและคำตอบทั้งหมดจะถูกปกปิดเป็นความลับ และจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลการศึกษาครั้งนี้โดยออกมาเป็นภาพรวมของการวิจัยเท่านั้น จึงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้เข้าร่วมการวิจัยหรือหน่วยงานต้นสังกัดของท่าน ซึ่งท่านมีสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมการวิจัยก็ได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้วิจัยทราบ
.
=========================================
หากผู้เข้าร่วมการวิจัยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิจัยหรือแบบสอบถาม ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมามาลย์ ปานคำ สถานที่ทำงาน/สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 086-3521-155 E-mail address: sumaman.p@rsu.ac.th 
.
และ นางสาวพิชญา ขันธะชวนะ สถานที่ทำงาน/สถานที่ติดต่อ 98/23 ม.รุ่งเรือง ซ.กุศลศิลป์ ถ.สรรพาวุธ แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา จ.กรุงเทพมหานคร 10260  หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 086-8911-488  E-mail address: pichaya.k64@rsu.ac.th 
.
=========================================
โครงการวิจัยนี้ได้รับการพิจารณารับรองจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานอยู่ที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต (Office of the president of Rangsit University)  ตึก 1 อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ ชั้น 10 มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347  หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง ปทุมธานี 12000  โทรศัพท์ : 02-791-5728 โทรสาร : 02-791-5704 อีเมล์ : rsuethics@rsu.ac.th หากท่านได้รับการปฏิบัติไม่ตรงตามที่ระบุไว้ ท่านสามารถติดต่อประธานกรรมการฯ หรือ ผู้แทนได้ตามสถานที่และหมายเลขโทรศัพท์ข้างต้น
.
.
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาสละเวลาในการตอบแบบสอบถามงานวิจัยปริญญาเอกครั้งนี้ค่ะ
Sign in to Google to save your progress. Learn more
Next
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy