กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
Logga in på Google för att spara förloppet. Läs mer
ชื่อ - สกุล *
ระดับการศึกษา *
ชื่อสถานศึกษา *
Rensa markering
อ่านบทความแล้วตอบคำถาม ข้อที่ 1 - 3
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนห้า ปีมะแม สัปตศก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระโสทรนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย
1. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ เดือน พ.ศ. ใด *
1 punkt
2. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ ตรงกับปีนักษัตรใด *
1 punkt
3. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการถวายพระนามจากจากท่านใด *
1 punkt
อ่านบทความแล้วตอบคำถาม ข้อ 4 - 6
นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่

"ก้อนหินก้อนกรวด" เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึง พระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็น ก้อนหิน หมายถึง พระองค์เอง ส่วนก้อนกรวด หมายถึง กุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เราตัวโตเลยใช้ว่า ก้อนหิน หวานตัวเล็ก เลยใช้ว่า ก้อนกรวด รวมกันจึงเป็น ก้อนหิน-ก้อนกรวด” นามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียวตอนประพันธ์บทความ "เรื่องจากเมืองอิสราเอล" เมื่อปี พ.ศ. 2520

"แว่นแก้ว" เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ชื่อแว่นแก้ว นี้ตั้งเอง เพราะตอนเด็ก ๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ แว่นแก้ว" พระนามแฝง แว่นแก้วนี้ พระองค์เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน

"หนูน้อย" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า หนูน้อย" โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2523

และ "บันดาล" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ใช้ว่า บันดาลเพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง เลยใช้เป็นนามแฝง ไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย" ซึ่งพระองค์ทรงใช้ในงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ทรงทำให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2526
4. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้นามปากกากี่พระนาม *
1 punkt
5. ข้อใดไม่ใช่นามปากกาในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี *
1 punkt
6. บทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. ใด *
1 punkt
อ่านบทความแล้วตอบคำถามข้อ 7 - 10
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง โดยทรงใช้เครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทย ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก และได้ทรงดนตรีไทยในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียน รวมทั้ง งานวันคืนสู่เหย้าร่วมกับวงดนตรีจิตรลดาของโรงเรียนจิตรลดาด้วย หลังจากที่ทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมรสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะอักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลัก และทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่น ๆ ด้วย

ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เครื่องดนตรีที่ทรงสนพระทัยนั้น ได้แก่ ระนาดเอกและซอสามสาย ซึ่งพระองค์ทรงเริ่มเรียนระนาดเอกอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2528 หลังจากการเสด็จทรงดนตรีไทย ณ บ้านปลายเนิน ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยมี สิริชัยชาญ พักจำรูญ เป็นอาจารย์ผู้ถวายการสอน พระองค์ทรงเริ่มเรียนตั้งแต่การจับไม้ระนาด การตีระนาดแบบต่าง ๆ และท่าที่ประทับขณะทรงระนาด และทรงเริ่มเรียนการตีระนาดตามแบบแผนโบราณ กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยเพลงต้นเพลงฉิ่งสามชั้น แล้วจึงทรงต่อเพลงอื่น ๆ ตามมา ทรงทำการบ้านด้วยการไล่ระนาดทุกเช้า หลังจากบรรทมตื่นภายในห้องพระบรรทม จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 พระองค์จึงทรงบรรเลงระนาดเอกร่วมกับครูอาวุโสของวงการดนตรีไทยหลายท่านต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 17 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเพลงที่ทรงบรรเลง คือ เพลงนกขมิ้น (เถา)

ในด้านการขับร้อง พระองค์ทรงสนพระทัยในด้านการขับร้องเพลงไทย โดยทรงเริ่มฝึกหัดการขับร้องด้วยพระองค์เองเมื่อครั้งยังทรงศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนจิตรลดา ทรงเริ่มต้นเรียนการขับร้องกับ เจริญใจ สุนทรวาทิน อาจารย์ประจำชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องเพลงไทยสำหรับพระราชทานให้แก่สถาบันการศึกษาและวงดนตรีไทยเพื่อนำไปบรรเลงและขับร้องเนื่องในโอกาสต่าง ๆ

นอกจากดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา แต่ได้ทรงเลิกเรียนหลังจากนั้น 2 ปี และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จนสามารถทรงทรัมเปตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต
7. ขอใดคือเครื่องดนตรีไทยที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดทรงอยู่ประจำ *
1 punkt
8. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเลือกหัดเครื่องดนตรีไทยชนิดใดเป็นชิ้นแรก เมื่อครั้งทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 *
1 punkt
9.  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดร่วมกับครูอาวุโสของวงการดนตรีไทยต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 17   *
1 punkt
10. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จนสามารถทรงเครื่องเป่าชนิดใดนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย *
1 punkt
อ่านบทความแล้วตอบคำถาม ข้อ 11
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ทรงรับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2519 หลายโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ ได้เสด็จเยี่ยมและทรงดูงานห้องสมุดชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งได้พระราชทานข้อแนะนำแก่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และบรรณารักษ์ไทยในการนำความรู้ไปพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนรวมทั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายโอกาสให้ประชนในการพัฒนาการรู้หนังสือ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯเสมอมา รวมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสมาพันธ์สมาคมห้องสมุดฯนานาชาติ (IFLA) และมีพระราชดำรัสเปิดการประชุม IFLA ครั้งที่ 65 ที่กรุงเทพมหานครในปี 1999
11. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ. ใด *
1 punkt
อ่านบทความแล้วตอบคำถาม ข้อ 12 - 13
พระครูธรรมสรคุณ  หรือท่านพ่อเขียน ขันธสโร   เจ้าอาวาสวัดกระทิง  ตำบลพลวง  อำเภอเขาคิชฌกูฎ  จังหวัดจันทบรี  ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิพระครูธรรมสรคุณ  ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาพ่อค้าประชาชน หน่วยงานภาครัฐเอกชน ในจังหวัดจันทบุรี  ได้ทูลเกล้าเสนอขอเข้าร่วมโครงการจัดสร้างห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี   และเพิ่มพิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เอาเป็นการสนองพระราชปณิธาน ในการส่งเสริมการศึกษา ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านและสมเด็จพระเจ้าตากสินในคราวเดียวกัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระราชทานอนุญาต และพระราชทานวินิตศัยโปรดให้สร้างห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ลักษณะอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ในเนื้อที่ 3 ไร่ในที่ดินของวัดกระทิงซึ่งอยู่ติดริมถนนและแม่น้ำจันทบุรีในเขตชุมชน

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นแห่งที่ 82 ของกระทรวงศึกษาธิการที่ไดรับพระราชทานอนุญาตให้ดำเนินการ   เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงมายุ 36  พรรษาในปีพุทธศักราช 2534 เป็นต้นมา


12. ท่านใดเป็นประธานกรรมการมูลนิธิพระครูธรรมสรคุณ *
1 punkt
13. ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงมายุกี่พรรษา *
1 punkt
อ่านบทความและตอบคำถาม ข้อ 14 - 15
          คำว่า “ห้องสมุด” มีคำที่ใช้กันอยู่หลายคำในประเทศไทย สมัยก่อนเรียกว่า “หอหนังสือ” ห้องสมุดตรงกับภาษาอักฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า  Libraria

          วัตถุประสงค์สำคัญของห้องสมุดโดยทั่วไปมี 5 ประการ คือ

1.       เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดเป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารนิเทศหลายรูปแบบทุกสาขาวิชาของสถาบันการศึกษาทุกระดับ เป็นสถานที่ที่นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์และบุคคลทั่วไปทุกระดับตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษาเข้าไปศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองได้อย่างกว้างขวาง สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ผู้ศึกษาจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องสมุดประกอบคำสอนของครูอาจารย์จึงมีความรู้อย่างสมบูรณ์ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาถึงชั้นสูงก็อาจใช้ห้องสมุดศึกษาต่อไปตลอดชีพ เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งวิชาให้ค้นหาสิ่งที่สงสัยได้ตลอดเวลา

2.       เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร (Information) ห้องสมุดเป็นศูนย์รวมสรรพวิทยาการทุกสาขา เปิดโอกาสให้ทุกคนแสวงหาความรู้ ข่างสารต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ตามความสนใจของแต่ละคนอย่างไม่มีข้อจำกัด ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางสำหรับนักศึกษาวิชาการใหม่ ๆ และติดตามข่างความเคลื่อนไหวทั้งภายในภายนอกประเทศทั่วโลก ทำให้เป็นคนทันสมัยทันโลก มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาประเทศ ช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ

3.       เพื่อการค้นค้าวิจัย (Research) ห้องสมุดเป็นที่เก็บรักษาหนังสือและวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดไว้สำหรับให้บริการ ผู้ที่ทำการวิจัยเรื่องใหม่ ๆ ขึ้นมาย่อมต้องค้นคว้าเรื่องที่มีอยู่เดิมเสียก่อน ห้องสมุดเป็นศูนย์รวมของความรู้ ผู้ใช้สามารถเลือกศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการของตนเองอย่างกว้างขว้าง โดยเฉพาะในห้องสมุดของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง คือ ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย จึงต้องจัดหาเอกสารที่จำเป็นสำหรับการค้นคว้าและวิจัย การค้นคว้าวิจัยจะช่วยให้เกิดพัฒนาการในวิชาการในสาขาต่าง ๆ

4.       เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) การอ่านหนังสือนอกจากเป็นการรวบรวมข่างสารความรู้ต่าง ๆ แล้วยังสามารถให้ความสุขทางใจ เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรทั้งรูปของสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดความรู้ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อผู้ใช้ได้ใช้ประโยชน์จากวัสดุสารต่าง ๆ ที่มีในห้องสมุดแล้ว อาจได้รับความประทับใจจนเกิดแรงบันดาลใจให้มีความคิดสร้างสรรค์หรือเกิดความจรรโลงใจ ความเจริญงอกงามทางจิตใจ สร้างสรรค์ความดีแก่ตนเองละสังคมทำให้เกิดความชื่นชมในความคิดที่ดีงามของผู้อื่น

5.       เพื่อนันทนาการ (Recreation) ห้องสมุดมิได้มีเฉพาะข่าวสารความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังมีความ เพลิดเพลินในรูปแบบต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ให้บริการผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้ผ่อนคลายและได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่าน ซึ่งถือว่าเป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ดีที่สุดทำให้คนเรารู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่ง


14. ห้องสมุดสมัยก่อนเรียกว่าอะไร *
1 punkt
15. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของห้องสมุด *
1 punkt
อ่านบทความและตอบคำถาม ข้อ 16 - 17
 องค์ประกอบของห้องสมุด

 ห้องสมุด คือ แหล่งรวบรวมวัสดุเพื่อการศึกษาและค้นคว้าวิจัย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.       สิ่งตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ เอกสาร จุลสาร ในสาขาวิชาต่าง ๆ หนังสือเป็นความรู้ทั่วไป หนังสือที่มีคุณค่าถาวรและหนังสืออ้างอิง
2.       หนังสือตัวเขียน ได้แก่ สมุดย่อย หนังสืออ่าน และต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมืออื่น ๆ
3.       โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพยนตร์สารคดี ฟิล์มสคริป สไลด์ แถบเสียง แผ่นเสียง ลูกโลก แผนที่รูปภาพ
4.       วัสดุย่อส่วน ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครการ์ด ไมโครฟิช ซึ่งต้องใช้เครื่องอ่านเป็นพิเศษ
ส่วนประกอบสำคัญของห้องสมุด คือ อาคารสถานที่ วัสดุเพื่อการศึกษาและค้นคว้าวิจัย บรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิทางบรรณารักษ์ศาสตร์และมีเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในจำนวนที่เพียงพอทำหน้าที่ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุดและมีเงินงบประมาณอย่างเพียงพอ
16. ข้อใดเป็นหนังสือตัวเขียน *
1 punkt
17. ขอใดไม่ใช่สิ่งตีพิมพ์ *
1 punkt
อ่านบทความและตอบคำถาม ข้อ18 - 20
 สมัยสุโขทัย   (พ.ศ. 1800 - 1920)   พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี  พ.ศ.  1826  ได้จารึกเรื่องราวต่างๆ  ลงบนแผ่นหินหรือเสาหิน  คล้ายกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   ที่จารึกเมื่อประมาณ  700  ปีมาแล้ว  ซึ่งหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไทย  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งสมณฑูตไปสืบศาสนาที่ลังกา  ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่กรุงสุโขทัย  พร้อมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎก  โดยสันนิษฐานว่าจารึกลงในใบลาน   ดังนั้นพระในเมืองไทยจึงมีการคัดลอกพระไตรปิฎกที่เรียกว่า  การสร้างหนังสือ  ทำให้มีหนังสือทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมากที่เรียกว่า  หนังสือผูกใบลาน  จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนังสือทางพุทธศาสนา  เรียกว่า  หอไตร  และในปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ  ไตรภูมิพระร่วง    ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่  1  พญาลิไทย
18. ท่านใดเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย *
1 punkt
19. การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี พ.ศ. ใด *
1 punkt
20. เมื่อปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ ของท่านใด *
1 punkt
Skicka
Rensa formuläret
Skicka aldrig lösenord med Google Formulär
Det här innehållet har varken skapats eller godkänts av Google. Anmäl otillåten användning - Användarvillkor - Integritetspolicy