3 มิถุนายน 2566 วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
Sign in to Google to save your progress. Learn more
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี                    เ
 เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๑ ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาในปี ๒๕๔๓ ทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัท แจลเวย์ จำกัดในปี ๒๕๔๓-๒๕๔๖ จากนั้นทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในปี ๒๕๔๖-๒๕๕๑
พระราชประวัติในด้านการทหาร
๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ของโรงเรียนและศูนย์ฝึกหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ชั้นนายร้อย-ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ

พ.ศ. ๒๕๕๖ ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๙๑

พ.ศ.๒๕๕๗ ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ ๕๙

๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ

๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน ของโรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ด้วยการกระโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืน ที่สัตหีบ ซึ่งโรงเรียนทหารนาวิกโยธินไม่เคยมีการฝึกมาก่อน เพราะปกติแล้วจะทำการฝึกกระโดดในเวลากลางวันเท่านั้น พระองค์จึงทรงเป็นนายทหาร และนายทหารหญิงพระองค์แรก ที่ทำการฝึกหลักสูตรนี้

๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Combat Qualifying Course Jungle Warfare ของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ทรงจบหลักสูตรการยิงปืนพกในระบบต่อสู้ภายใต้สภาวะกดดันของกองบังคับการปราบปราม


ด้านการบิน
๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของหน่วยฝึกการบินพลเรือนกองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41

๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรศิษย์การบินทหารบกอากาศยาน ปีกติดลำตัว ชั้นมัธยม ของโรงเรียนการบินทหารบก ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ Cessna T 41

๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ CT-4E และ PC-9

เสด็จฯไปทรงฝึกและศึกษาการบินเพิ่มเติม ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงผ่านการทดสอบและได้รับใบอนุญาตนักบินของสหภาพยุโรป ออกใบอนุญาต โดย สำนักงานการบินพลเรือน แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนี้ ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล PPL(A) ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna 172, Mooney M-20, Piper PA-34 Seneca ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี CPL(A) โดยมี Type Rating ของเครื่องบินแบบ Boeing 737 300-900 และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL-Theory)

ทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน ทรงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักบินผู้ช่วย ทำการบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะ Boeing 737-400 และ Boeing 737-800
การรับราชการ
พ.ศ.๒๕๕๓ ทรงดำรงตำแหน่ง รักษาราชการนายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองกิจการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พ.ศ.๒๕๕๕ ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พ.ศ.๒๕๕๕ ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ก่อน ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๒) และผู้บังคับการหน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด

๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)

๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)

๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลตรี)

๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ทรงดำรงตำแหน่งราชองครักษ์เวร

๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลโท)

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก)

๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง ราชองครักษ์เวร

๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ทรงดำรงตำแหน่ง รองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ (อัตราเงินเดือน น.๙)

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)

พระนามสมเด็จพระราชินีแห่งราชวงศ์จักรี ใน ๙ รัชกาลก่อนหน้านี้ มี
รัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระนามเดิมว่า นาค เป็นอรรคชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระชายา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๓ ไม่มีการสถาปนาพระราชินี

รัชกาลที่ ๔ ไม่มีการสถาปนาพระราชินี มีแต่พระภรรยาเจ้าชั้นสูงสุดในตำแหน่งพระอัครมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี และ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระราชเทวี พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ พระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม)

รัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจี พระบรมราชินี พระนามเดิม นางสาวประไพ สุจริตกุล ธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ได้รับการสถาปนาเป็น พระวรราชชายาเธอ พระนางอินทรศักดิ์ศจี เมื่อทรงทำพิธีอภิเษกสมรส ต่อมาในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๕ ก็ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระวรราชชายาเธอ พระนางอินทรศักดิ์ศจี เป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจี พระบรมราชินี

เป็นที่เปิดเผยว่า เหตุที่ทรงสถาปนาพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีขึ้นดำรงตำแหน่งพระบรมราชินีก็ด้วยทรงครรภ์ ซึ่งจะทำให้พระราชโอรสที่ประสูติมามีศักดิ์ศรีคู่ควรแก่ตำแหน่งรัชทายาท

แต่แล้วในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๖๘ ก็ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี เป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายา เนื่องจากมิอาจรักษาพระครรภ์ได้ครบกำหนด ทรงดำรงอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชินีอยู่ ๒ ปี ๘ เดือน ทั้งนี้ แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งปณิธานที่จะมีมเหสีเพียงองค์เดียว แต่ทรงมีพระราชภารกิจที่สำคัญก็คือ องค์รัชทายาทที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ เมื่อพระมเหสีมิอาจสนองพระเดชพระคุณในเรื่องนี้ได้ จึงทรงมีมเหสีใหม่ด้วยพระราชประสงค์ในเรื่องรัชทายาท

รัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระนามเดิม หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์

รัชกาลที่ ๘ ไม่มีพระมเหสี

รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรทรงดำรงพระยศ จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และโดยพระชนมพรรษาจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จึงทรงเป็นพระบรมราชินีองค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้แก่
พ.ศ. 2555 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
            พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
            พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
            พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
            พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
            พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
            พ.ศ. 2559 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
            พ.ศ. 2560 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน (ป.จ.)
            พ.ศ. 2562 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 1      
ร่วมลงนามถวายพระพร *
Submit
Clear form
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy