ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมป้องกัน COVID-19 ของประชาชนในประเทศไทย
Knowledge and Preventive Behavior toward COVID19 of Thai People
เอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมป้องกัน COVID-19 ของประชาชนในประเทศไทย
Research Project : Knowledge, Attitude and Preventive Behavior toward COVID-19 of Thai People in Thailand

ชื่อหัวหน้าโครงการวิจัย: กนกอร ตางจงราช

ชื่อผู้วิจัยร่วม : ศุจิมน มังคลรังษี

ที่มาของโครงงานวิจัย
COVID-19  เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายธันวาคม พ.ศ. 2562 ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 183 ล้านคนทั่วโลก (2 ก.ค. 64)  COVID-19 แพร่ระบาดจากคนสู่คนและแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัส SARs-CoV2 อาการมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ท้องเสีย ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น โดยผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือมะเร็งมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงกว่าคนวัยหนุ่มสาวและคนที่ไม่มีโรคประจำตัว อย่างไรก็ตามทุกคนก็ยังสามารถติดCOVID-19 และอาจป่วยรุนแรงได้ โรคโควิด19สร้างผลเสียให้กับคนทั้งโลกในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการเจ็บป่วยสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และอื่นๆ หนึ่งในวิธีการสำคัญที่จะหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 คือการพัฒนาวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน และลดการแพร่ระบาดของCOVID-19 นอกเหนือจากการป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด19 คือพฤติกรรมในการป้องกันโดยการใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ และการเว้นระยะห่างทางสังคม

สำหรับประเทศไทย มีเป้าหมายการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชน ร้อยละ 70 ของประชากรในประเทศไทย หรือ 100 ล้านโดส ประเทศไทย ได้เริ่มการฉีดวัคซีน COVID-19  ให้กับประชาชน ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 64 ถึงปัจจุบัน ฉีดไปแล้วกว่า 9.67ล้านโดส โดย 2.67 ล้านคน ได้รับวัคซีน COVID-19 ครบ 2 โดสแล้ว (2 ก.ค. 46) คิดเป็นร้อยละ 4 ของประชากรในประเทศไทย ในขณะที่การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 1 ม.ค.64 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 7,163 ราย ปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสมกว่า 270,921 ราย (2 ก.ค.64) สายพันธ์ที่ระบาดในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา จากการเก็บข้อมูลจำนวน 2,766 ตัวอย่างในช่วงวันที่ 21-27 มิ.ย.64 พบว่าเป็น สายพันธุ์อัลฟา 80.19% สายพันธุ์เดลตา 16.59% และ สายพันธุ์เบตา 3.22% (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อมูล ณ วันที่ 27 มิ.ย. 64) สายพันธ์ุอัลฟา และเดลต้า มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธ์ุดั้งเดิม ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยเพิ่่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการระบาดของ COVID-19 งานวิจัยนี้ผู้วิจัย จึงวางแผนจะเก็บข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับ COVID-19  ทัศนคติต่อการป้องกัน COVID-19 การรับรู้ความเสี่ยงติด COVID-19 และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ของคนไทย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความเสี่ยง และพฤติกรรมป้องกัน COVID-19 ของประชาชนไทย

ระยะเวลาที่จะทำการวิจัยทั้งสิ้น ตั้งแต่เดือน มิถุนายน  ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564

คำถามในแบบสอบถามใน Google Form นี้ประกอบไปด้วย ใช้เวลาประมาณ 7-10 นาทีในการตอบคำถาม
1. ข้อมูลทั่วไป จำนวน 11 ข้อ
2.ส่วนความรู้ จำนวน 15 ข้อ
3.ส่วนทัศนคติ จำนวน 3 ข้อ
4.พฤติกรรมการป้องกัน 10 ข้อ


การตอบคำถามในการวิจัยนี้เป็นความสมัครใจ *
Next
Clear form
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy