แบบทดสอบออนไลน์ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ๒ เมษายน ๒๕๖๗ "สืบสานสารานุกรมไทย"
ท่านจะได้รับเกียรติบัตรผ่านทาง E-mail เมื่อท่านทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ 
***กรุณาตรวจสอบ E-mail และชื่อ-นามสกุล ให้ถูกต้องก่อนกดส่งนะคะ***
Sign in to Google to save your progress. Learn more
Email *
ชื่อ - นามสกุล *
สังกัด/หน่วยงาน *
กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราชลมารค หมายถึง ริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบการมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว และสืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และได้มีมาจนปัจจุบัน แต่เดิมกระบวนพยุหยาตราสถลมารคเป็นการเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อประกอบการพระราชพิธีต่างๆ ที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมือง เข้ามาประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ และการพระบรมศพ เป็นต้น

การจัดกระบวนพยุหยาตราสถลมารคนี้ กล่าวได้ว่า วิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในกระบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมอีกด้วย ทั้งยังจัดเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติ และพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ทรงแสดงพระบารมีแผ่ไพศาล เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่ง แด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยทั่วไปการจัดริ้วกระบวนได้แบ่งออกเป็น ๒ แบบ เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราใหญ่ ซึ่งจัดเป็น ๔ สาย และระบวนพยุหยาตราน้อย จัดเป็น ๒ สาย การจัดริ้วกระบวนมีกระบวนการจัดแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ กระบวนนอกหน้า กระบวนในหน้า กระบวนเรือพระราชยาน กระบวนในหลัง และกระบวนนอกหลัง ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงาม ความโอ่อ่าตระการตา และความมีระเบียบ สมกับเป็นประเพณีของชาติ ที่มีอารยธรรมอันสูงส่งมาแต่โบราณกาล

เรือพระราชพิธี หมายถึง เรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่ประทับในระหว่าง เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ใดที่หนึ่งโดยทางน้ำ เรือพระที่นั่งนี้ จะแวดล้อมแห่แหนด้วยริ้วกระบวนเรือของขุนนาง และทหารในกอง กรมต่างๆ ที่เรียกว่า เรือหลวง มีการจัดเรียงลำดับเรือต่างๆ ตามแบบแผนของการจัดทัพ ที่มีมาแต่โบราณ
ความเป็น มาของเรือพระราชพิธี
บรรดาเรือหลวงที่มีไว้ใช้ในราชการนั้น ได้สร้างขึ้นมา เพื่อให้มีพอแก่ราชการ เช่น การเดินทางติดต่อส่งข่าวสารการใช้เป็นพาหนะทางน้ำ เพื่อเดินทางไปในที่ต่างๆ ตลอดจนการใช้เป็นเรือรบขับไล่ข้าศึก ที่มารุกรานและการขนส่งบรรทุกทหารและยุทโธปกรณ์ เพื่อไปปราบปรามบรรดาหัวเมือง ที่อยู่ริมน้ำ หรือริมทะเล ซึ่งทำได้รวดเร็วกว่าการเดินทางทางบกโดยเฉพาะการจัดเรือเป็นรูปกระบวนทัพนั้น มีมาแต่สมัยโบราณแล้ว โดยที่มิได้มีการแบ่งเหล่าทหารออกเป็นทหารบก และทหารเรืออย่างชัดเจนแต่ในยามสงคราม ทหารจะใช้ได้ ทั้งการรบทางบก และทางทะเล ถ้ายกทัพไปทางทะเล ก็เลือกแม่ทัพนายกอง ที่มีความชำนาญทางทะเลเป็นผู้นำทัพ และที่เรียกว่าเรือรบนั้น ในสมัยโบราณ ใช้เรือทุกประเภท ที่มีกะเกณฑ์กันไป ที่เป็นเรือหลวงมักจะเป็นเรือขนาดใหญ่และยาวกว่าเรือธรรมดาซึ่งเมื่อใน ยามว่างศึก ก็นำมาใช้เป็นเรือค้าขายกับต่างประเทศ เดิมมักจะเป็นเรือสำเภา ซึ่งบรรทุกคนและสินค้าได้มาก และแข็งแรงพอที่จะโต้คลื่นลมในทะเลได้

สำหรับเรือหลวงที่นำมาใช้ในพระราชพิธีนั้น ส่วนมากจะเป็นเรือที่มีความใหญ่และยาวพอสมควร สามารถใช้ฝีพายไปได้เร็วจึงมักมีรูปเพรียว และเดิมใช้เป็นเรือรบประเภทขับไล่เสียมาก ซึ่งแต่เดิม เรือรบทางแม่น้ำมี ๔ ชนิด คือ เรือแซ เรือไชย เรือศีรษะสัตว์ และเรือกราบมีการสร้างเรือรบขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑) โดยโปรดให้ดัดแปลงเรือแซซึ่งเป็นเรือลำเลียง สำหรับใช้บรรทุกทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ ให้เป็นเรือไชยกับเรือศีรษะสัตว์ โดยได้วางปืนใหญ่ประเภทปืนจ่ารงให้ยิงได้จากหัวเรือ ซึ่งจัดว่า เป็นต้นแบบของเรือรบในสมัยต่อมา เรือแซนั้น เป็นเรือยาวใช้ตีกรรเชียงประมาณลำละ ๒๐ คน ส่วนเรือไชยและเรือศีรษะสัตว์ เป็นเรือยาวแบบเรือแซ แต่เปลี่ยนกรรเชียงเป็นใช้พาย และบรรทุกทหาร ให้ลงประจำเรือได้ ลำละ ๖๐-๗๐ คน ซึ่งเมื่อเป็นพายแล้วไปได้รวดเร็วกว่าเรือแซ และให้ชื่อใหม่ว่า "เรือ ไชย"

เรือศีรษะสัตว์นั้นสร้างแบบเดียวกับเรือไชย แต่ให้ทำหัวเรือกว้างสำหรับเจาะช่องตั้งปืนใหญ่ได้ เหนือช่องปืนขึ้นไป ทำเป็นรูปสัตว์ เช่น ครุฑ ลิง (กระบี่) อันเป็นเครื่องหมายของกองต่างๆ ในกระบวนทัพสำหรับเรือแซ เดิมก็ยังคงใช้เป็นเรือสำหรับลำเลียงอาหาร และอาวุธเช่นเดิม
การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
นับจากเมื่อได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เมื่อคราวฉลองพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ในรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็ไม่เคยได้จัดอีก จนใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ในรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นปีที่ทางราชการได้จัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษขึ้น และได้จัดให้มีกระบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป พระไตรปิฏก และพระสงฆ์ แห่ไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นการเฉลิมฉลอง กระบวนครั้งนั้นเรียกกันว่า "กระบวน พุทธพยุหยาตรา" การจัดรูปกระบวนเรือคล้ายรูปกระบวนพยุหยาตราน้อย แต่ไม่ครบ เนื่องจากเรือพระราชพิธีชำรุดเสียหายไปบ้าง ไม่มีเรือพอจะจัดให้เต็มรูปริ้วกระบวนแบบฉบับ ที่มีมาแต่โบราณ

ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค สำหรับเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ตามพระราชประเพณีที่เคยมีมา แต่ก็ไม่อาจจัดกระบวนให้ครบถ้วน เป็นกระบวนพยุหยาตราใหญ่ หรือพยุหยาตราน้อยได้เช่นกัน มีเรือดั้งเหลือ ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่ คือ เรือพาลีรั้งทวีปกับเรือสุครีพครองเมือง ๑ คู่ เรืออสุรวายุภักษ์กับเรืออสุรปักษาอีก ๑ คู่ เรือที่ไม่มีคือ เรือกระบี่ เรือครุฑ และเรือคู่ชัก จึงใช้เรืออสูรมาเป็นเรือคู่ชัก ใช้เรือดั้งทอง และเรือพญาวานรเสริมริ้วเรือดั้งให้ครบ ๑๑ คู่ และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชดำริ ในอันที่จะฟื้นฟูประเพณี การเสด็จ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค กรมอู่ทหารเรือ กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ได้ต่อเรือพระราชพิธี และเรือดั้งจนมีครบ ๑๑ คู่ ส่วนเรือรูปสัตว์ก็ต่อตัวลำขึ้นใหม่ ใช้หัวเดิมบ้าง และต่อใหม่หมดบ้าง จนครบ ๘ ลำ การเสด็จพระราชดำเนินถวายพระกฐินด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารคครั้งสุดท้าย ประกอบการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ และมีการซ้อมใหญ่อีกครั้งใน พ.ศ. ๒๕๑๒

ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๒๐๐ ปี รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้น พระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง คือ การเสด็จพยุหยาตราชลมารค ในวันที่ ๕ เมษายน และกระบวนพยุหยาตรา ในวันที่ ๑๓ เมษายน โดยอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์แห่ออก เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทย และถือเป็นสิริมงคลในการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงเป็นแม่กองปรับปรุงการจัดริ้วกระบวน จนดูโอ่อ่าตระการตายิ่ง

อย่างไรก็ดี ต่อมาในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม โดยมีการจัดกระบวนเรือตามแบบกระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ และใช้บทเห่เดิมของ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เป็นบทเห่ชมกระบวนเรือ ชมทิวทัศน์ ชมนก ชมปลา และชมไม้ น.ต.มงคล แสงสว่าง เป็นเจ้าหน้าที่เห่ นอกจากนี้ มี พ.จ.อ.สุจินต์ สุวรรณ์ และ พ.จ.อ.ทวี นิลวงษ์ เป็นผู้ช่วยในการเห่ด้วย

ก่อนจะถึงวันพระราชพิธี กองทัพเรือได้นำเรือพระที่นั่งออกจัดกระบวนเรือฝึกซ้อมใหญ่ ๒ ครั้ง คือ วันที่ ๖ และ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นวันมหามงคลของราชอาณาจักรไทยอีกวาระหนึ่ง ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ได้ ๔๒ ปี ๒๓ วัน ซึ่งนานกว่าพระมหากษัตริยาธิราชทุกพระองค์ในอดีต รัฐบาลได้จัดงานฉลองพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกขึ้น ในงานนี้ ระหว่างวันที่ ๒-๕ กรกฎาคม มีการเห่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ที่ท่าราชวรดิษฐ์ โดยบทเห่นั้น คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ประพันธ์

จากความงดงามในศิลปกรรมที่ประกอบขึ้นเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ประกอบกับเป็นเรือที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยแล้ว ยังมีความสำคัญในการเป็นมรดกของโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกลอย่างยิ่ง ลำหนึ่ง ที่แสดงถึงความมีอัจฉริยะในการต่อเรือของช่าง ไทยโบราณ ที่สามารถแสดงออกถึงความเป็น เอกลักษณ์ของชาติได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นงานศิลปกรรมที่รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญ จึงได้ให้การทำนุบำรุงรักษาเรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์เป็นอย่างดียิ่ง จนสามารถนำมารับใช้เบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีต่างๆ จนมาถึงปัจจุบัน อันถือได้ว่า เป็นการสืบต่อความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในการต่อเรือ และการเดินเรือ รวมทั้งการค้าขายทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกล ซึ่งกำเนิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว

ด้วยความสำคัญของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ดังกล่าวมาแล้ว จึงทำให้องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ให้ความสนใจส่งผู้แทนมาพิจารณามอบรางวัลเรือโลกแก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒) คณะกรรมการองค์การเรือโลก (WORLD SHIP TRUST) ประกอบด้วย นาย อีเวน เซาท์บีเทลยัวร์ (MR.EWEN SOUTHBY TAILYOUR) ประธานองค์การเรือโลก นาย ไมเคิล ไทแนน (MR.MICHAEL TYNAN) นัก กฎหมายประจำองค์การฯ และนายเจมส์ ฟอร์ไซท์ (MR.JAMES FORSYTH) ได้เดินทางมายังราชอาณาจักรไทย และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญ รางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คือ เหรียญ รางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำ ปี ค.ศ. ๑๙๙๒ (THE WORLD SHIP TRUST MARITIME HERITAGE AWARD "SUPHANNAHONG ROYAL BARGE") จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าว แก่อธิบดีกรมศิลปากรครั้งนั้น คือนายสุวิชญ์ รัศมิภูติ ซึ่งเป็นกรมที่รับผิดชอบดูแลรักษาเรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์ ที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี

องค์การเรือโลก (WORLD SHIP TRUST) แห่งสหราชอาณาจักร เป็นองค์การที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศลอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๗๙ (พ.ศ. ๒๕๒๒) มี ดยุกแห่งเอดินบะระ (DUKE OF EDINBURGH) เป็นองค์อุปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและความรู้ของสาธารณชน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเดินเรือ การต่อเรือ ส่ง เสริมการทำนุบำรุงรักษาเรือสมัยโบราณที่มีความ สำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งต่อโลกและมนุษยชาติ เพื่อให้เป็นมรดกที่ล้ำค่าที่สาธารณชนรุ่นหลังจะ ได้มีโอกาสได้ชื่นชมต่อไป รวมทั้งดำเนินการ สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรือต่างๆ เพื่อ บันทึกไว้เป็นหลักฐานและเป็นประโยชน์ในการ ทำนุบำรุงเรือนั้นๆ

องค์การเรือโลกได้เคยมอบรางวัลแก่ องค์กร บุคคล และเรือต่างๆ แล้ว ๑๒ เหรียญ ที่สำคัญ มีเรือวาซา (WASA) ของสวีเดน เรือแมรีโรส (MARY ROSE) ของสหราชอาณาจักร เรือจิลแลนด์ (JYLLAND) ของเดนมาร์ก เรือยูเอสเอสคอนสติติวชัน (USS CONSTITUTION) ของสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกับที่มอบเหรียญรางวัล ให้เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ แห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ก็ได้มอบรางวัลให้แก่เรือมิกาซา (MIKASA) แห่งประเทศญี่ปุ่นด้วย

สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ นอกจาก ได้รับเหรียญรางวัลแล้ว ยังได้รับสาส์นแสดง ความยินดีจากเจ้าชายฟิลิป ดยุก แห่งเอดินบะระ ด้วย
เรือพระราชพิธีลำใหม่ "เรือ พระที่นั่งนารายณ์ ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙"
นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประเทศไทยจะมีเรือพระราชพิธีลำใหม่เพิ่มอีก ๑ ลำ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ทั้งนี้เนื่องด้วยกองทัพเรือ และกรมศิลปากร จะสร้างขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อฉลองในมหาวโรกาส งานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ที่พระองค์เสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เรือพระราชพิธี ลำใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า "เรือ พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙"

ลักษณะของเรือเป็นการนำรูปแบบโขนเรือ พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณเดิม ซึ่งเป็นไม้จำหลัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเฉพาะโขนเรือรูปครุฑยุดนาค (พญาสุบรรณ) เท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูป พระนารายณ์ประทับยืนบนหลังพญาสุบรรณ ทำให้เรือมีความสง่างามมากขึ้น เรือพระที่นั่งองค์ เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมสภาพไปเหลือเพียง โขนเรือเท่านั้น และจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติพระนคร กองทัพเรือจึงร่วมกับกรม ศิลปากรนำโขนเรือดังกล่าวมาเป็นแบบในการ สร้างเรือพระที่นั่งองค์ใหม่ ซึ่งจะเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทอดบัลลังก์กัญญาเทียบเท่าเรือพระที่นั่ง อนันตนาคราชและเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ใช้ ฝีพาย ๕๐ นาย เพื่อให้มีความหมายสอดคล้อง กับโอกาสอันเป็นมหามงคลนั้นและกำหนดว่าจะ สร้างแล้วเสร็จในราววันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙

เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางกระดูกงูเรือ พระที่นั่งลำใหม่ ณ กรมอู่ทหารเรือ กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา ทั้งนี้เนื่องด้วยกองทัพเรือ และกรมศิลปากร จะสร้างขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมฉลอง นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประเทศไทยจะมีเรือพระราชพิธีลำใหม่เพิ่ม อีก ๑ ลำคือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ พร้อมกับการซ่อมเรือพระราชพิธี อีก ๕๓ ลำ เรือพระราชพิธีลำใหม่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระมหา กรุณาธิคุณ พระราชทานนามว่า "เรือ พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" ตามหนังสือสำนัก ราชเลขาธิการ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวาง กระดูกงูเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ การพระราชพิธีประกอบขึ้นระหว่าง เวลา ๑๗.๑๕-๑๗.๔๙ นาฬิกา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงบริเวณพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย และทรงศีล ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ประเจตน์ ศิริเดช กราบบังคมทูลรายงานการ สร้างเรือพระที่นั่งฯ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมหัวเรือ ทรงผูกผ้า สีชมพู สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงคล้องพวงมาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอกหมุดตอนกระดูกงูเรือ แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ และทรงหลั่งทักษิโณทก ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธี พระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา โหรพราหมณ์ทำพิธีบูชาฤกษ์ เจ้าพนักงานลั่นฆ้องชัย เป่าสังข์ และแกว่ง บัณเฑาะว์ พิณพาทย์ทำเพลงมหาฤกษ์ซึ่งเป็น เพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบพิธีมงคล

สำหรับการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรง สุบรรณ รัชกาลที่ ๙ นี้ กองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากรได้นำเอาโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มาเป็นแม่แบบ โดยกองทัพเรือจะ ดำเนินการสร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างของตัว เรือพายและคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากรจะดำเนิน การในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

ลักษณะของเรือ

จากการพิจารณาโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณเดิม ซึ่งเป็นโขนเรือแกะสลักจากไม้ ลงรักปิดทองประดับกระจกตลอดทั้งลำ ลวดลาย เขียนลายดอกพุดตานพื้น ส่วนท้ายเรือ มีลักษณะคล้ายเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช แต่ส่วนเหนือมาลัยท้าย เป็นสร้อยหางครุฑ ปลายหางสุดของ ท้ายเรือเป็นกนกหางครุฑ ท้องลายของท่อนหาง เป็นขนครุฑ สีพื้นเรือหรือสีท้องเรือเป็นสีแดงชาด ใช้กัญญาเรือเช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คือ ตัวบัลลังก์กัญญาเรือ เป็นลวดลายแกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก แผงพนักพิงแกะสลัก ลวดลายเป็นรูปครุฑยุดนาค ลงรักปิดทองประดับ กระจกภายในเหมือนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลูกแก้วรับขื่อเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ประดับกระจก เสาสองต้นทาสีดำ ส่วนพายกับ ฉากลงรักปิดทอง การวางฉัตร ให้เว้น ๒ กระทง ต่อ ๑ ฉัตร ผ้าดาดหลังคากัญญาเรือ เป็นทองแผ่ ลวด ลายโคมแย่ง ลงรักปิดทองประดับกระจก พื้นแดงลายจั่วและลายผ้าม่านโดยรอบประดับ ด้วยทองแผ่ลวด มีฝีพาย ๕๐ นาย สิ้นค่าใช้จ่าย ประมาณ ๑๑.๗ ล้านบาท เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ สร้างเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙
1. ริ้วกระบวนที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในโอกาสสำคัญต่างๆโดยเสด็จพระราชดำเนินทางบกเรียกว่าอะไร *
2.ริ้วกระบวนที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในโอกาสสำคัญต่างๆโดยเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำเรียกว่าอะไร *
3. ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี  มีเรือพระที่นั่งลำใหม่ ที่กองทัพเรือและกรมศิลปากรต่อขึ้นใหม่ โดยใช้โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับเรือพระที่นั่งลำใหม่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าอย่างไร *
4. เรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่ประทับในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ใดที่หนึ่งโดยทางน้ำ แวดล้อมแห่งด้วยริ้วขบวนของเรือขุนนางและทหารในกองกรมต่างๆมีการจัดเรียงลำดับเรือต่างๆตามแบบแผนของการจัดทัพเรียกว่าอย่างไร *
5. เรือรบไทยโบราณประเภทหนึ่งมีปืนจากโรงตั้งที่หัวเรือเรียกว่า เรืออะไร *
6. เรือที่ได้รับรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี ค.ศ. 1992 คือเรือลำใด *
7. พระเจ้าแผ่นดินพม่าที่ยกทัพใหญ่เข้ามารุกรานจนถึงเมืองหลวงคือเมืองอยุธยามีนามว่าอย่างไร *
8. พม่ามีเมืองท่าที่อยู่เหนือเขตแดนไทยอยู่ 1 เมืองชื่อว่าเมืองอะไร
Clear selection
9. กษัตริย์พระองค์ใด พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรีและคุณมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร *
10. กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชครั้งสุดท้ายเมื่อปีใด *
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy