แบบทดสอบความรู้ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาทวี กศน.อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรม
ส่งเสริมการอ่านออนไลน์  เรื่อง "วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา"  แบบทดสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน
ทำแบบทดสอบผ่าน ร้อยละ 70 ขึ้นไป จะได้รับเกียรติบัตรทางอีเมลค่ะ
Sign in to Google to save your progress. Learn more
Email *
วันอาสาฬหบุชา
ชื่อ-สกุล (ระบุคำนำหน้า นาย นาง นางสาว)
*
ที่อยู่  *
ประเภทของผู้ตอบแบบทดสอบ
*
วันอาสาฬหบูชา
ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา    วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน 8 เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศานาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนาจนถือได้ว่า เป็นวันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) เนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพพาน ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรกที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ประกาศให้มีวันอาสาฬหบูชา และถือปฏิบัติมาจนกระทั่งปัจจุบัน ความเป็นมาเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน 6 และได้ประทับอยู่ ณ บริเวณที่ตรัสรู้นั้นตลอด 7 สัปดาห์ พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงผู้ที่พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรด อันดับแรกทรงระลึกถึงอาฬาดาบส และอุทกดาบสผู้เคยสอนความรู้ขั้นฌานให้แก่พระองค์มา แต่ท่านทั้ง 2 ก็สิ้นชีพไปก่อนแล้วจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ ผู้ที่เคยมีอุปการะคุณแก่พระองค์ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าฤาษีทั้ง 5 นั้น มีอุปนิสัยแก่กล้าสามารถบรรลุธรรมได้จึงเสด็จออกจากต้นมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ เสด็จไปถึงเย็น วันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอาสาฬหะ วันขึ้น 15 ค่ำ พระองค์จึงทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตร อันเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรด ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สรุปความได้ว่า บรรพชิต(นักบวช) ไม่ควรประพฤติที่สุดโต่ง 2 ส่วน คือ 1. การหมกหมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข(การสุขัลลิกานุโยค) และ 2. การทรมานตัวเองให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุประโยค) ควรดำเนินตามทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ มีความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) มีความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) เจรจาชอบ(สัมมาวาจา) ทำการงานชอบ(สัมมากัมมันตะ) เลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) เพียรชอบ(สัมมาวายามะ) ระลึกชอบ(สัมมาสติ) และตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ) ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงอริยสัจ 4 คือ หลักความจริงของชีวิตที่เมื่อรู้แล้วจะทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ ทุกข์(ความเกิด ความแก่ และความตาย เป็นต้น) สมุทัย(เหตุให้เกิดทุกข์คือ ความอยากต่าง ๆ) นิโรธ(ความดับทุกข์คือ นิพพาน) และมรรค(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม(เห็นตามเป็นจริง) ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าครั้นทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นโสดาบันแล้วจึงทรงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิวะตะ โภ โกณฑัญญะ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ” แปลว่า “โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” อันเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะได้นามว่า “อัญญาโกณฑัญญะ”นับแต่นั้นท่านอัญญาโกณฑัญญได้ทูลขอบวช  พระพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา  จึงเป็นอันว่า  มีองค์พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ในวันนั้น..   ที่มา กระปุกดอทคอม                                          ชมวีดีโอเพิ่มได้ตามลิงก์นี้ค่ะ https://hilight.kapook.com/view/26024
วันเข้าพรรษา
อ่านประวัติวันเข้าพรรษากันค่ะ    วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า อยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษาประวัติวันเข้าพรรษาในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน พระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา"แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ก็คือ 1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย 2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ 3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด 4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้ประเภทของการเข้าพรรษาการเข้าพรรษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกันเครื่องอัฏฐบริขารของภิกษุระหว่างการจำพรรษาโดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น กว่าพระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านผู้ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันการปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษาแม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณรที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้นมีประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง อีกทั้งมีการ "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำกิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา 1.ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 2.ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร 3.ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 4.อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ 5.อยู่กับครอบครัว ที่มา :กระทรวงวัฒนธรรม  ชมวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ https://hilight.kapook.com/view/13698
1. เดือนอาสาฬหะ เรียกอีกอย่าง หนึ่งว่าเดือนอะไร
*
1 point
2. วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ อย่างไร
*
1 point
3. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรียกอีกอย่างว่าอะไร
*
1 point
4. วันที่ประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก คือวันใด
*
1 point
5. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5
1 point
Clear selection
6. หนทางสู่ความดับทุกข์ คือข้อใด
*
1 point
7. พระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธ- ศาสนาคือใคร
*
1 point
8. ข้อใดไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชา
*
1 point
9. พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตร อันเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ ธรรมดังกล่าวนี้ว่าด้วยเรื่องใด
*
1 point
10. ในปีทางจันทรคติที่มีเดือน 8 จำนวน 2 หนเรียกว่าอะไร
*
1 point
11. ใครคือผู้ทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าให้พระสงฆ์รับผ้าอาบน้ำฝนได้
*
1 point
12. ในการถวายผ้าอาบน้ำฝนนิยมถวายบริวารควบคู่ไปด้วย บริวารนั้น หมายถึงอะไร
*
1 point
13. สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน ได้แก่ผ้าอะไร
*
1 point
14. ข้อใดคือระยะเวลาของการถวายผ้าอาบน้ำฝน
*
1 point
15. ประเพณีอาสาฬหบูชาที่กำหนดให้ทำพิธีเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เริ่มมีขึ้นในสมัยใด
*
1 point
16. ตามคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ใครคือผู้ที่มาอาราชธนาให้พระพุทธองค์ตัดสินใจที่จะทรงแสดงพระธรรม
*
1 point
17. วันอาสาฬหบูชาตรงกับขึ้นกี่ค่ำ
*
1 point
18. วันอาสาฬหบูชาปี ๒๕๖๖ ตรงกับวันใด
*
1 point
19. กิจกรรมใดที่ไม่ทำในวันอาสาฬหบูชา
*
1 point
20. เหตุการณ์สำคัญในสมัยพุทธกาลที่ทำให้เกิดวันอาสาฬหบูชา คือข้อใด
*
1 point

21. วันเข้าพรรษาตรงกับวันใด

*
1 point

22. วันเข้าพรรษา ปี ๒๕๖๖ ตรงกับวันใด

*
1 point
23. พรรษา มีระยะเวลากี่เดือน
*
1 point

24. สาเหตุที่พระภิกษุต้องเข้าพรรษาคือข้อใด

*
1 point
25.  ความหมายของคำว่า “พรรษา” ข้อใดถูก *
1 point
26. เข้าพรรษาหมายถึง *
1 point
27. การเข้าพรรษา มีกี่ประเภท *
1 point

28. การเข้าพรรษาแรก เรียกว่าอะไร

*
1 point
29. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัว หรือที่เรียกว่า อัฏฐบริขาร ที่ครบถ้วนคือข้อใด *
1 point
30.  ประเพณีใดไม่เกี่ยวข้องกับวันเข้าพรรษา *
1 point
โปรดประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดประชาชนอำเภอนาทวีด้วยค่ะ
*
Captionless Image
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy