แบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็น การจัดทำร่างกฎกระทรวง ของ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
               ด้วยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ศึกษาพิจารณายกร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๔ การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ มาตรา ๔๑ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ แบ่งเป็นสามประเภท คือ
(๑) การใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย
(๒) การใช้น้ำประเภทที่สอง ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น
(๓) การใช้น้ำประเภทที่สาม ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง
ลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภทตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ กนช.
การออกกฎกระทรวงตามวรรคสอง จะต้องให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดทำแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสอบถามเกี่ยวกับลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท  ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากท่านได้ตอบแบบสอบถามให้ครบถ้วน คำตอบของท่านจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำ พ.ศ. .... ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป

Sign in to Google to save your progress. Learn more
ส่วนที่ ๑  ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป
๑. เพศ
๒. อายุ
อาศัยอยู่ในจังหวัด
ส่วนที่ ๒  ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท
โดยให้ท่านพิจารณาเนื้อหารายละเอียดในแต่ละข้อว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่ ตามลักษณะหรือรายละเอียด ที่กำหนดดังต่อไปนี้
ลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง
๑. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพและการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน  หมายถึง การใช้น้ำเพื่อกิน ดื่ม ประกอบอาหารและวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ตลอดจนเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการดำรงชีพ หรือความจำเป็นในครัวเรือน
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)  
๒. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ หมายถึง การใช้น้ำโดยผู้ใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การทำนาเกลือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเกษตรกรรมอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยถือครองที่ดินไม่เกิน   ๖๖ ไร่ ไม่ว่าแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงในลุ่มน้ำหนึ่ง
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)  
๓. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึง การใช้น้ำเพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์เพื่อขายและอาจใช้บริโภคด้วย โดยลักษณะดังต่อไปนี้ประกอบกันคือ การประกอบการผลิตในอาณาบริเวณที่พักอาศัย ซึ่งหมายถึง บ้าน โรงครัว โรงรถ และบริเวณอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ครัวเรือนเป็นผู้ครอบครอง มีจำนวนคนทำงานไม่เกิน ๑๐ คน โดยจะมีการจ้างหรือไม่ก็ได้ งานที่ทำนั้นไม่คำนึงว่าทำด้วยมือหรือเครื่องจักร และให้หมายความรวมถึงการใช้น้ำเพื่อการทำโฮมสเตย์อีกด้วย
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)  
โฮมสเตย์ตามความหมายในวรรคหนึ่ง หมายถึง สถานที่พักชั่วคราวซึ่งเจ้าของบ้านนำพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านมาดัดแปลงเป็นห้องพักและจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร โดยเรียกค่าตอบแทนจากผู้พักอันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และมีจำนวนไม่เกินสี่ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกินยี่สิบคน และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๔. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการคมนาคม หมายถึง การขนส่งและการสัญจรทางน้ำ
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๕. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการรักษาระบบนิเวศ หมายถึง การใช้น้ำเพื่อบริหารจัดการแหล่งน้ำสาธารณะให้มีปริมาณน้ำที่ไหลเพียงพอเพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศตั้งแต่ต้นน้ำถึงท้ายน้ำ ซึ่งรวมถึงการลดความเสียหายจากการรุกล้ำของน้ำเค็ม
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๖. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการบรรเทาสาธารณภัย หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่สาธารชนซึ่งประสบภัย ไม่ว่าภัยนั้นจะเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งหมายรวมถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรม
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๗. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะตามจารีตประเพณี หมายถึง การใช้น้ำในประเพณีนิยมที่ได้ประพฤติกันสืบมา
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๘. การใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย หมายถึง การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะที่ไม่ได้มีลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำตามข้อ ๑ - ๗ ในปริมาณไม่เกิน ๐.๔ ลูกบาศก์เมตร/ครัวเรือน/วัน
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
ลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำประเภทที่สอง
๙. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม หมายถึง การใช้น้ำที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นการใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง และเป็นการใช้น้ำเพื่อการประกอบกิจการตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๑๐. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง การใช้น้ำสำหรับการจัดให้มีหรือให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยมีค่าตอบแทน หรือประโยชน์ในการบริหารจัดการหรือปรับภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยอาศัยทรัพยากรน้ำ เพื่อประโยชน์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยไม่รวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการคมนาคม
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๑๑. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หมายถึง การใช้น้ำในกระบวนการผลิตเพื่อเปลี่ยนจากพลังงานรูปแบบหนึ่งจากแหล่งน้ำพลังงานไปเป็นพลังงานไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยประกอบกิจการพลังงานไม่ว่าจะทำให้น้ำมีปริมาณเปลี่ยนไปหรือไม่ก็ตาม ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๑๒. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการประปา หมายถึง การใช้น้ำดิบในกระบวนการทำน้ำให้สะอาด หรือปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบให้ได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด และสูบส่งหรือสูบจ่ายน้ำโดยวิธีการส่งผ่านด้วยเส้นท่อที่มีแรงดัน ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยการประปา
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
๑๓. การใช้น้ำเพื่อกิจการอื่น หมายถึง การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะที่ไม่มีลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำในข้อ ๙ - ๑๒ และไม่ใช่การใช้น้ำประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีลักษณะเป็นการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพตามข้อ ๑ หรือตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติประกาศกำหนด
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
ลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำประเภทที่สาม
๑๔. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง หมายถึง
(๑) การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อธุรกิจในปริมาณสูง อันอาจส่งผลต่อความสมดุลของน้ำในทรัพยากรน้ำสาธารณะของลุ่มน้ำนั้น รวมทั้งลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ก. น้ำบาดาล อัตราการสูบน้ำต่อบ่อเกิน ๓,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตร/วัน
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
    ข. น้ำผิวดินในแม่น้ำ ลำน้ำ คลองส่งน้ำ น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำ อัตราการใช้น้ำเกิน ๕,๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร/วัน
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
(๒) การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อธุรกิจ ที่อาจส่งผลให้สมดุลของทรัพยากรน้ำสาธารณะเปลี่ยนแปลงไปจนส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำ คุณภาพของทรัพยากรน้ำสาธารณะนั้น หรือระบบนิเวศในลุ่มน้ำอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการผันน้ำข้ามลุ่มด้วย
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
(๓) การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะในเขตของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือพื้นที่ในลักษณะเดียวกัน เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหรือพื้นที่ในลักษณะเดียวกัน
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะตามความในวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการใช้น้ำบาดาลสำหรับการอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำผิวดินอื่น ๆ ที่สามารถใช้การได้อยู่ พื้นที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพน้ำบาดาล สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ได้แก่ พื้นที่ที่มีการสูบน้ำบาดาลที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพน้ำบาดาลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล หรือพื้นที่ใกล้แหล่งกลบขยะมูลฝอย หรือใกล้แหล่งสารพิษ หรือกากของเสียอุตสาหกรรม หรือใกล้บ่อพักน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือใกล้แหล่งเหมืองแร่ที่อาจส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำบาดาล หรือสภาพพื้นที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ ในรัศมีไม่เกิน ๑ กิโลเมตรจากพื้นที่เจาะน้ำบาดาล
เหตุผลหรือข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี)
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy