แบบสอบถาม ความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยการใช้ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิผล โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  
Sign in to Google to save your progress. Learn more
คำชี้แจง

1. แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความต้องการของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยการใช้ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิผล โรงเรียนทุ่งสงวิทยา ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเพิ่มจำนวนนักเรียน ด้านการบริหารจัดการ  ด้านวิชาการด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และด้านการมีส่วนร่วม                               2. โปรดอ่านข้อความในแต่ละข้อแล้วพิจารณา กาเครื่องหมาย / ลง ในช่องรายการแต่ละข้อว่าครูมีระดับความต้องการ อยู่ในระดับใดจาก 5 ระดับ ดังนี้                                                                                                                        


5 หมายถึง มีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด                                                            
4 หมายถึง มีความต้องการอยู่ในระดับมาก                                                                  
3 หมายถึง มีความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง                                                           
2 หมายถึง มีความต้องการอยู่ในระดับน้อย                                                                
1 หมายถึง มีความต้องการอยู่ในระดับน้อยที่สุด

ตอนที่ 1 ถามความต้องการของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยการใช้ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิผล โรงเรียนทุ่งสงวิทยา

1. ด้านการเพิ่มจำนวนนักเรียน *
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด
1. การวางแผนการดำเนินการรับนักเรียน โดยการสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ชุมชน ประชากรและนักเรียนในเขตพื้นที่บริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยอาศัยข้อมูลบริบทของโรงเรียนที่ถูกต้องมากำหนดเป็นแผนชั้นเรียนล่วงหน้า 2–3 ปีโดยการสำรวจจำนวนนักเรียนที่จะจบการศึกษา ระดับ ป.6 และ ม.3 จากโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการในแต่ละปีการศึกษา
2. การระดมความคิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า หน่วยงานต้นสังกัด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อวางแผนในการสร้างความเชื่อมั่นต่อโรงเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองยินยอมส่งบุตรหลานเข้าเรียน
3. การสร้างความเข้าใจแก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรท้องถิ่น และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พันธมิตร เครือข่าย โดยการเข้าร่วมประชุม การพบปะชุมชนตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การประชุมหมู่บ้าน การประชุมส่วนราชการท้องถิ่น
4. การทำข้อตกลงกับพันธมิตรหรือเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ บุคลากรวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์และงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
5. การประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้ปกครองรับทราบโดยการเข้าถึงชุมชน และผู้นำท้องถิ่น
6. การสร้างจุดแข็งของโรงเรียนเพื่อสร้างแตกต่างและเปรียบเทียบให้ผู้ปกครองเห็นว่าถ้าส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแล้วจะมีความแตกต่างหรือมีข้อได้เปรียบจากโรงเรียนอื่นอย่างไร
7. การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ท้าทายโดยการเสนอสวัสดิการที่จำเป็นแก่นักเรียน เช่น รถรับส่ง เครื่องแต่งกาย อาหารกลางวัน หนังสือเรียน ทุนการศึกษา และสวัสดิการอื่น ๆ ที่นักเรียนต้องการ
8. การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณที่ใช้ดำเนินการและการกำหนดแนวทางการจัดหางบประมาณในการดำเนินการ
9. การกำหนดปฏิทินการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
10. การแนะแนวนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่บริการและใกล้เคียง ตามปฏิทินที่กำหนดไว้และทันสถานการณ์ในช่วงการรับนักเรียนใหม่
11. การกำกับติดตามการดำเนินงาน การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานทุกขั้นตอน
12. การสรุปผลการดำเนินงาน การนำผลสรุปการดำเนินการไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำไปวางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษาและยุทธศาสตร์ถัดไป
2. ด้านการบริหารจัดการ  
*
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด
1. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยการศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ในการพัฒนาสถานศึกษา
2. การสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ครอบคลุมภารกิจ ทันสมัย และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโรงเรียน
3. การนำมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (แผนฯ 3 – 5 ปี) และมีการกำหนดค่าเป้าหมายในแต่ละปี
4. กำหนดกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามจุดเน้นหรือจุดที่ควรพัฒนา ปรับปรุง จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานศึกษา สนับสนุนการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา โดยกำหนดไว้ในแผนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา (แผนฯ 3 – 5 ปี)
5. การนำกรอบแนวทาง ตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา (แผนฯ3 – 5 ปี)ไปสู่การปฏิบัติโดยการกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปี และมีการกำหนดแผนงานโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกัน
6. การวางแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงเรียน โดยการกำหนดโครงสร้างการบริหารโรงเรียน ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและภารกิจของงานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
7. การกำหนดระเบียบว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการโรงเรียน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
8. การกำหนดระเบียบโรงเรียนว่าด้วยการกำหนดหน้าที่ตามภารกิจและมาตรฐานการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร โดยการกำหนดภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างชัดเจน โดยการออกคำสั่ง หรือประกาศภาระงานของบุคลากรแต่ละประเภท
9. การมอบหมายภารกิจ หน้าที่ ให้กับบุคลากรตรงตามความรู้ ความสามารถ หรือตรงตามความชอบความถนัด และมีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน หรือพรรณนางานในแต่ละฝ่าย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
10. การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนที่เพียงพอและเป็นปัจจุบัน
11. การดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพด้วยการเน้นการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงหน้าที่หลักและหน้าที่รองของข้าราชการครูและบุคลากร
12. การนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานตามโครงสร้างการบริหาร ระเบียบบริหารโรงเรียน และระเบียบว่าด้วยการกำหนดหน้าที่ตามภารกิจและมาตรฐาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาโรงเรียน
13. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากการดำเนินการตามรูปแบบโครงสร้าง ระเบียบบริหารโรงเรียนและการกำหนดหน้าที่ตามภารกิจและมาตรฐานการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนด
14. การรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการ ภารกิจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย หรือรับผิดชอบ ประจำภาคเรียน และประจำปีการศึกษา ของครูรายบุคคล (PSAR) และจัดทำรายงานระดับสถานศึกษา (SAR) เพื่อรายงานต้นสังกัดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
3. ด้านวิชาการ
*
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด
1. การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองหลักสูตรแกนกลางฯ และมีรายวิชาเพิ่มเติมที่ตอบสนองจุดเน้น นโยบายความต้องการของนักเรียน ชุมชนและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง
2. การกำหนดสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัด ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี และนำไปสู่การเขียนคำอธิบายรายวิชา และจัดทำโครงสร้างรายวิชา ที่สามารถกำหนดหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การตอบสนองสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และลำดับชั้นการเรียนรู้ และสามารถวัดผลประเมินผลผู้เรียนได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. การจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองหลักสูตรสถานศึกษา
4. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เช่น การเรียนการสอนตามแนว Constructivism ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ ลงมือปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ
5. การส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ การใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน และพัฒนาส่งเสริมการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน
6. การยกระดับคุณภาพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สนับสนุนให้ครูรวมกลุ่มกันวางแผนและพัฒนาเทคนิคกระบวนการเรียนการสอน นำสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน มีการนิเทศ ช่วยเหลือติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
8. การวิจัยและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยสอนที่มีประสิทธิภาพ
9. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
10. การประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
11. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งสอดคล้องกับ ศักยภาพของนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่น สำหรับใช้ดำเนินงานและประเมินคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนที่ครอบคลุมตัวบ่งชี้ตามกฎกระทรวงฯ
12. การกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียน ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ และความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
13. การกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย สุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม
14. การกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
4. ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
*
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด
1. การศึกษาภาระงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทำความเข้าใจ ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติงาน
2. ดำเนินการวางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการกำหนดอยู่ในผังโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. แต่งตั้งครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาที่มีความเหมาสมะกับห้องเรียนและระดับชั้น และคำนึงถึงเพศ วัย และห้องเรียนที่มีความพิเศษในบางกรณี เช่น นักเรียน ม.ต้น หรือ ม.ปลาย เป็นต้น
4. การจัดทำคู่มือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คู่มือครูที่ปรึกษา และพรรณนางานอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
5. การส่งเสริมการมีวินัยนักเรียนโดยเน้นการมีวินัยเชิงบวกเป็นส่วนสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
6. การออกระเบียบว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติและการเพิ่มคะแนน เพื่อควบคุมพฤติกรรมนักเรียนแทนการลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี หรือวิธีการที่รุนแรง
7. มีการนำนวัตกรรม รูปแบบวิธีการส่งเสริม สนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัย มาใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
8. การคัดกรองนักเรียนโดยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้ SDQ การสัมภาษณ์ การเยี่ยมบ้าน การประเมินความฉลาดทางอารมณ์
9. การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน Classroom Meeting อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
10. การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมจากองค์กรภายนอก เช่น ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ในการป้องกัน และส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
11. การให้ความสำคัญ ให้กำลังใจ กับครูที่ปรึกษาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างทั่วถึง และเอาใจใส่ของผู้บริหารสถานศึกษา
12. การอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน เช่น ปัญหายาเสพติด พฤติกรรมชู้สาว คุณแม่วัยใส และกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจสร้างปัญหา ที่ส่งผลต่อความมั่นคงหรือสถานะของนักเรียน
13. การบันทึกหลักฐานการปฏิบัติงานและประเมินผลรายงานผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายและมีการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
5. ด้านการมีส่วนร่วม
*
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด
1. การดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ เช่น โรงเรียนขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เดียวกัน หรือมีความพร้อมทางด้านวิชาการและการบริหารจัดการ เพื่อขอสนับสนุนด้านการวางแผนงาน บุคลากร งบประมาณ วิชาการ และด้านอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2. การพัฒนางานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความเข็มแข็งและมีศักยภาพเพียงพอในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองให้เข้มแข็ง พร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาโรงเรียน ส่งเสริมการจัดแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
5. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
6. การจัดระบบและกลไกในการระดมทรัพยากร ที่จะเอื้อประโยชน์แก่การจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยวิธีการระดมทรัพยากรที่เหมาะสม โปร่งใส มีแผนการนำทรัพยากรไปใช้อย่างชัดเจนเพื่อพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
7. การระดมความคิด ประชุม โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากเครือข่าย ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียน
8. เปิดโอกาสให้ ชุมชน องค์กรชุมชน เข้ามาใช้สถานที่ของโรงเรียนในโอกาสสำคัญ เช่น การประชุมหมู่บ้านการประชุมภาคประชาสังคม การเลือกตั้งท้องถิ่น และการเลือกตั้งระดับชาติ
9. มีการประชุมแถลงรายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
10. การชี้แจงบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการจัดการศึกษาของโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง และท้องถิ่น เป็นต้น
11. การระดมทรัพยากรจากองค์กรท้องถิ่น ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียน
12. การกำกับติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนจากหน่วยงานต้นสังกัด องค์กรชุมชน องค์กรท้องถิ่น ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ
ตอนที่ 2 ข้อเสนอแนะ (ถ้ามีโปรดระบุ)
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy