แบบรับสมัครโครงการ Youth Policy Lab : พื้นที่สร้างสรรค์นโยบายที่มี "เยาวชน" เป็นศูนย์กลาง
ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) โดยความร่วมมือระหว่าง 101 Public Policy Think Tank (101 PUB) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะจัดกิจกรรม Policy Lab ชวนเด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ มาร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาที่เด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญ 

อยากเชิญชวนเยาวชนที่สนใจ อายุตั้งแต่ 15 - 25 ปีสมัครเข้าร่วมโครงการ "Youth Policy Lab" พื้นที่ออกแบบนโยบายที่มี "เยาวชนเป็นศูนย์กลาง" ผ่านกระบวนการ Design Thinking และ Systems Thinking  โดยสามารถกรอกข้อมูลและตอบคำถามที่กำหนด เพื่อแสดงความประสงค์การเข้าร่วมโครงการ 

ระยะเวลาดำเนินการของโครงการ Youth Policy Lab จะจัดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ในรูปแบบทั้ง F2F (ที่ ThaiHealth Academy ชั้น 34 อาคาร SM Tower BTS สนามเป้า) และ Online (ผ่าน ZOOM)
เดือนมีนาคม
วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 17.00 - 20.00 (F2F)

เดือนเมษายน
วันอังคารที่ 4 
เมษายน 17.00 - 20.00 (F2F)
วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 17.00 - 20.00 (online)
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 17.00 - 20.00 (F2F)

เดือนพฤษภาคม
วันอังคารที่ 2
 พฤษภาคม 17.00 - 20.00 (online)
วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม 13.00 - 16.00 (F2F)
Sign in to Google to save your progress. Learn more
เหตุผลและความคาดหวังในการสมัครเข้าร่วมโครงการ Youth Policy Lab *
รายละเอียดโจทย์ปัญหาในโครงการ
ในโครงการนี้ผู้เข้าร่วมจะถูกจัดกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจจะได้โจทย์หรือประเด็นปัญหาเยาวชนในประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโจทย์ปัญหาที่อยากเชิญชวนเยาวชนมาร่วมออกแบบ ได้มาจากผลแบบสอบถามถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเยาวชนบางส่วน 

โดยรายละเอียดของโจทย์ต่าง ๆ ของโครงการนี้มีดังนี้ 

1) ประเด็นการศึกษา
โจทย์: เราจะออกแบบ ‘มัธยมศึกษา’ ใหม่อย่างไรให้ตอบโจทย์เด็กและเยาวชน ? เด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ อยากเรียนอะไรและอย่างไร? (หลักสูตร ทักษะที่ต้องการ จำนวนชั่วโมงเรียน รูปแบบการเรียน ฯลฯ) เราจะทำอย่างไรให้การศึกษาระดับมัธยมในกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพเสมอกัน?

ที่มาของโจทย์ : การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ความสนใจ และเป้าหมายชีวิตที่หลากหลายของเด็กและเยาวชน เป็นระบบการศึกษาที่ ‘คิดแทน’ เด็ก มุ่งผลิตเด็กออกมาเป็นแบบเดียว และยังมีความเหลื่อมล้ำในเชิงคุณภาพและการเข้าถึงอยู่มาก


2) ประเด็นสุขภาพจิต
โจทย์: เราจะทำอย่างไรให้กรุงเทพฯ เป็นสังคมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพจิตเยาวชน ? เราจะเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่คนรอบตัวเด็ก (และอาจรวมถึงตัวเด็กด้วย) อย่างไร ? สภาพแวดล้อมแบบใดที่ทำให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น?

ที่มาของโจทย์ : เด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต สังคมและสภาพแวดล้อมยังไม่เอื้อให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี และบ่อยครั้งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สุขภาพจิตของเด็กย่ำแย่ลง เช่น ครอบครัว โรงเรียน พื้นที่เมืองที่แออัด ความกดดันและการแข่งขันสูงในระบบการศึกษา และสื่อสังคมออนไลน์ 


3) ประเด็นอนาคตการทำงาน และอาชีพของเด็กรุ่นใหม่

โจทย์: เราจะออกแบบอนาคตการทำงานให้ตอบความต้องการของเยาวชนรุ่นใหม่ได้อย่างไร ? เราจะทำอย่างไรให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงงานในรูปแบบใหม่และมีความหลากหลายตามความสนใจ? เราจะทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ทดลองเพื่อค้นหาตัวเองในเรื่องอาชีพได้อย่างไร? เราจะทำอย่างไรให้งานรูปแบบใหม่ที่เด็กสนใจมั่นคง-ให้ค่าตอบแทนที่ดีขึ้น?

ที่มาของโจทย์ : เด็กและเยาวชนมีความสนใจในอาชีพที่หลากหลายขึ้น หลุดจากกรอบค่านิยมเดิม และมีวิถีการทำงานที่เปลี่ยนไป แต่พวกเขายังขาดอิสระในการตัดสินใจและยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมมากพอ 



เลือกโจทย์ปัญหา 1 โจทย์ที่สนใจร่วมออกแบบในโครงการ *
โปรดให้เหตุผลว่าทำไมถึงเลือกประเด็นดังกล่าว? มีมุมมองต่อประเด็นดังกล่าวอย่างไรบ้าง? ประเด็นดังกล่าวส่งผลต่อเยาวชนอย่างไร? มองภาพการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของประเด็นดังกล่าวอย่างไร? (กรุณาเขียนตอบ 100 - 150 คำ) *
Next
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy