International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking (วันต่อต้านยาเสพติดโลก)
นอกจากเดือนมิถุนายนจะถือเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Month) ของกลุ่ม LGBTQ+ แล้ว ในเดือนนี้ยังมีอีกหนึ่งวันสำคัญของโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking) กำหนดขึ้นโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในโอกาสนี้ เราอยากเชิญทุกคนมาสำรวจมุมมองที่หลากหลายต่อการต่อต้านยาเสพติดและการใช้ยาในกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งเป็นมิติทับซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายใจและสังคม ของ LGBTQ+ ผู้ใช้ยาอย่างมาก
Sign in to Google to save your progress. Learn more
คุณระบุตัวตนทางเพศ (อัตลักษณ์ทางเพศ) ของคุณเป็นแบบใด *
หากคุณตอบ "อื่น ๆ" โปรดระบุ
ปัจจุบันคุณอายุเท่าไหร่
1. คุณเคยได้ยินคำว่า "สงครามยาเสพติด" หรือไม่
Clear selection
--- สงครามยาเสพติด --- คือความพยายามในการต่อต้านการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย โดยใช้วิธีการเพิ่มบทลงโทษ การบังคับใช้กฎหมาย และการกักขังผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สงครามยาเสพติดเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2514 (ค.ศ. 1971) เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันประกาศให้ยาเสพติดเป็น “ศัตรูสาธารณะหมายเลข 1” ในประเทศไทยเองก็ได้มีการประกาศสงครามยาเสพติดในสมัยของนายกทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2546 นำไปสู่ตัวเลขผู้เสียชีวิตกว่า 1,400 คน จากนโยบายการปราบปรามที่รุนแรง ขณะนี้ในประเทศฟิลิปปินส์ที่สงครามยาเสพติดยังดำเนินไปอย่างเข้มข้นภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ใน 6 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกินกว่า 6,000 รายเป็นอย่างต่ำ (ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ประเมิณว่าจำนวนจริงของผู้เสียชีวิตอาจมีถึง 12,000 - 30,000 คน)
2. คุณคิดว่าประชากรกลุ่มใดใช้ยาเสพติดมากที่สุด
Clear selection
รายงานการสำรวจจากทั่วโลกแสดงให้เห็นตรงกันว่าอัตราการใช้สารเสพติดในกลุ่ม LGBTQ+ สูงกว่ากลุ่มคนที่เพศสภาพสอดคล้องกับเพศกำเนิดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนอายุน้อยที่ระบุว่าตนเองเป็นชนกลุ่มน้อยทางเพศ และยิ่งเห็นได้ชัดในกลุ่มไบเซ็กชวลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ
3. คุณคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้กลุ่ม LGBTQ+ มีอัตราการใช้ยาสูง (เลือกได้หลายตัวเลือก)
หากคุณตอบ "อื่น ๆ" โปรดระบุ
คนเลือกใช้ยาเสพติดด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันไปและอาจมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ยา สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการถูกตีตราและเลือกปฏิบัติอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจจนนำไปสู่อัตราการใช้ยาที่สูง ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเป็นเหยื่อจากการคุกคามที่สูงกว่าเพศหญิงและชายด้วยเช่นกัน มีรายงานสรุปออกมาว่าโอกาสที่กลุ่ม LGBTQ+ ที่มีประสบการณ์ด้านลบจากการถูกเลือกปฏิบัติจะมีสภาวะพึ่งพิงยาเสพติดมีสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เผชิญการเลือกปฏิบัติ สภาพการณ์เหล่านี้ยิ่งทำให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพกายและใจของ LGBTQ+ ผู้ใช้ยาแย่ลงนอกจากกลุ่ม LGBTQ+ จะใช้สารเสพติดเพื่อเป็นกลไกการรับมือการตีตราจากสังคมและการถูกคุกคามแล้ว ยังมีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ผ่อนคลาย เข้าสังคม เสริมความงาม จัดการกับปัญหาสุขภาพกายและใจ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มความสุขและประสิทธิภาพในการมีเพศสัมพันธ์
4. คุณรู้จักคำว่า เคมเซ็กส์ (Chemsex) หรือไม่
Clear selection
--- Chemsex --- คือการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทควบคู่กับกิจกรรมทางเพศ ซึ่งมีมากที่สุดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (men who have sex with men หรือ MSM) กลุ่มคนที่ใช้ chemsex บอกว่าการมีเคมเซ็กส์ / ไฮฟันทำให้เพิ่มความมั่นใจ ความสุข ความต้องการทางเพศ กระตุ้นความใกล้ชิด ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และช่วยยืดระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ได้นิยามของ Chemsex นอกเหนือจากการเพิ่มความสุขในการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังมีบริบทเรื่องความกดดันที่ส่งผลให้กลุ่ม MSM ไม่สามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมทางเพศได้อย่างเต็มที่ อย่างการที่สังคมมองการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศชายด้วยกันเป็นเรื่องผิดบาปจากความเชื่อทางศาสนา หรือการเชื่อมโยงวัฒนธรรมเกย์เข้ากับการระบาดของเชื้อ HIV/AIDS
การใช้ chemsex จึงเป็นการปลดปล่อยอารมณ์จากแนวคิดที่กดทับเหล่านี้ในประเทศไทย การใช้ chemsex รู้จักมากในชื่อ ‘ไฮ-ฟัน’ และมักจะเป็นลักษณะงานปาร์ตี้ซึ่งการเข้าถึงยาเสพติด เช่น ยาไอซ์ สามารถทำได้โดยง่าย แขกที่เคยเข้าร่วมงานเล่าว่าเป้าหมายหลักของเจ้าภาพจัดงานคือการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่แขกต้องการเข้าถึงยาจึงเกิดเป็นการแลกเปลี่ยนขึ้น เมื่อนำมารวมกับสถานการณ์การควบคุมยาเสพติดที่เข้มข้นของไทยแล้วจึงทำให้เกิดความไม่สมดุลของอำนาจระหว่างผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม chemsex การให้ความยินยอม (consent) จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งอาจจะตามมาด้วยการใช้ความรุนแรงทางเพศและความเสี่ยงอื่น ๆ
ในปัจจุบัน การให้ข้อมูลคำปรึกษาหรือบริการด้าน chemsex ในประเทศยังมีอยู่อย่างจำกัดและไม่ได้รวมอยู่ในบริการจากภาครัฐ มูลนิธิแอ็พคอม (APCOM Foundation) ได้จัดทำเว็บไซต์ testBKK ที่ให้ข้อมูลการมี chemsex อย่างปลอดภัย ดูเพิ่มเติมได้ที่ testbkk.org/drugs-help
5. คุณคิดว่าเราควรจัดการปัญหาด้านยาเสพติดอย่างไร
Captionless Image
Clear selection
6. คุณคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนหันมาใช้ยาเสพติดมากขึ้น
Captionless Image
Clear selection
หากคุณตอบ "อื่น ๆ" โปรดระบุ
7. คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่ารัฐควรมีหน่วยบริการสุขภาพในประเทศไทย(ทุก รพ.) มีบริการด้านยาเสพติด บริการ Chemsex ครอบคลุมทั้งกาย - ใจ -สังคม (ที่เป็นมิตร)
Clear selection
หากคุณตอบ "ไม่เห็นด้วย" โปรดให้เหตุผล
8. คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีระบบรับเรื่องร้องเรียนและให้การช่วยเหลืออันเนื่องมาจากการละเมิดสิทธิของผู้ใช้ยา
Clear selection
หากคุณตอบ "ไม่เห็นด้วย" โปรดให้เหตุผล
คุณคิดว่าในสังคมไทยเรามีการตีตราผู้ใช้ยามากน้อยเพียงใด (1 น้อยมาก - 5 มากที่สุด )
Clear selection
10. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับการบังคับบำบัดยาเสพติดโดยไม่สมัครใจ
Clear selection
หากคุณตอบ "ไม่เห็นด้วย" โปรดให้เหตุผล
แม้ว่าสงครามยาเสพติดจะดำเนินมาเป็นเวลาห้าทศวรรษแล้ว จำนวนผู้ใช้ยาเสพติดก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย รายงานปี 2021 ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC ชี้ว่ามีการจับกุมยาบ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวน 1,000 ล้านเม็ด นับเป็นสถิติสูงสุดที่เคยมีมา โดยการจับกุมในไทยมีปริมาณมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าการเน้นใช้แนวทางปราบปรามไม่ได้มีผลในการป้องกันไม่ให้คนใช้หรือข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
กลับกัน ความพยายามที่จะกำจัดยาเสพติดและทำให้เข้าถึงยากทำให้ตลาดมืดเติบโตและเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ของผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย และก่อให้เกิดปัญหาจำนวนผู้ต้องขังล้นเรือนจำ (สัดส่วนของผู้ต้องขังจากคดียาเสพติดในถือเป็น 80% จากทุกคดีในไทย) ผลกระทบรุนแรงที่เกิดจากการใช้มาตรการเข้มงวดมักจะไปตกอยู่กับกลุ่มคนชายขอบที่ขาดการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม คนเหล่านี้มักจะตกเป็นเป้าหมายของผู้บังคับใช้กฎหมายในการรีดไถและล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ+
ในปี 2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนมาตรการการลงโทษให้มีความรุนแรงน้อยลงโดยควบคู่ไปกับมาตรการเบี่ยงเบนคดีและเน้นไปที่การบำบัดรักษาแทน ทว่าเป้าหมายของรัฐยังคงมุ่งเน้นไปที่ ‘สังคมปลอดยาเสพติด’ ทั้งนี้เราควรยอมรับว่าการใช้ยาเสพติดเป็นหนึ่งในพฤติกรรมมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ยาเสพติดไม่มีวันหมดไปจากโลก และการให้คนใช้ยาทุกคนเข้ารับการบำบัดก็ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพเมื่อผู้ใช้ยาที่มีภาวะพึ่งพิงยาเสพติดถือเป็นส่วนน้อย (ประมาณ >10% จากจำนวนผู้ใช้ยาทั้งหมด) สิ่งที่รัฐควรให้ความสำคัญคือทำอย่างไรให้การมีอยู่ของยาเสพติดปลอดภัยต่อผู้ใช้และคนในสังคม
การลดอันตราย (Harm reduction) เป็นแนวคิดที่เริ่มแพร่หลายในหลากหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเอง และถูกมองว่าเป็นวิธีที่ได้ผลในการลดอันตรายจากยาเสพติด ไม่แค่เพียงด้านสุขภาพของผู้ใช้ยาแต่รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายด้วย การลดอันตรายมุ่งเน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกปราศจากการตัดสิน การบังคับ การเลือกปฎิบัติ และไม่นำการที่บุคคลนั้นๆยังใช้ยาเสพติดอยู่มาเป็นเงื่อนไขปฎิเสธการให้บริการช่วยเหลือ ตัวอย่างของบริการด้านสุขภาพและสังคมที่โอบรับแนวคิด harm reduction คือ การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาที่ปลอดภัย การสนับสนุนการใช้อุปกรณ์ในการเสพที่สะอาด การสร้างโอกาสการจ้างงานที่ไม่บังคับให้ต้องเลิกยาเด็ดขาดเป็นต้น
อย่างไรก็ดี การลดอันตรายจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อใช้ควบคู่กับการทำให้การใช้ยาเสพติดไม่ถือเป็นโทษทางอาญา (Decriminalisation) เพื่อเป็นการไม่ตีตราผู้ใช้ สนับสนุนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และเปิดโอกาสในการเปลี่ยนงบประมาณที่ใช้ปราบปรามและคุมขังมาเพิ่มในด้านสาธารณสุขแทน ปัจจุบันเกิน 30 ประเทศทั่วโลกได้มีการนำหลักการ decriminalisation มาใช้ เช่น ประเทศโปรตุเกส ซึ่งได้กำหนดให้การครอบครองยาเสพติดในปริมาณเทียบเท่าการใช้ในระยะเวลา 10 วัน โดยไม่มีเจตนาจะขายให้ผู้อื่น (เฮโรอีน 1 กรัม/ โคเคน 2 กรัม/ พืชกัญชา 25 กรัม เป็นต้น) ไม่ถือว่ามีความผิด
เรามักเข้าใจว่าการไม่ลงโทษผู้ที่ใช้ยาเสพติดจะทำให้มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น แต่ในกรณีของประเทศโปรตุเกสแสดงให้เห็นว่าอัตราของผู้ใช้ยาเสพติดไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและยังน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรปอีกด้วย นอกจากนี้ยังเห็นผลลัพท์ด้านสุขภาพของประชากรที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก เช่น การติดเชื้อ HIV ลดลง จำนวนคนเสียชีวิตจากการเสพยาเกินขนาดลดลง คนเข้าถึงบริการรักษาภาวะพึ่งพิงยาเสพติดอย่างเต็มใจเพิ่มมากขึ้น
ขอบคุณที่อยู่กับเราจนจบ วันที่ 26 มิถุนายน ยังเป็นวันปฏิบัติการสากล (Global Day of Action) ของแคมเปญ ‘สนับสนุน อย่าลงโทษ’ (Support. Don’t Punish.) ซึ่งเป็นการรณรงค์ที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องการลดอันตรายและนโยบายยาเสพติดที่ให้ความสำคัญกับหลักการด้านสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน โดยผู้ใช้ยาจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นอาชญากร ไม่เป็นเหยื่อจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และมีสิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐานด้วยความสมัครใจ
ขอเชิญเขียนข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่อยากฝากไว้หลังจากได้ลองสำรวจมุมมองการต่อต้านยาเสพติดและการใช้ยาในกลุ่ม LGBTQ+ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ ‘Support. Don’t Punish.
Captionless Image
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of APCOM. Report Abuse