self audit มาตรฐานพื้นที่ 5ส Green ห้องปฏิบัติการ
* กำหนดประเมิน self audit ครั้งที่ 2/2567 วันที่ 22 - 25 เมษายน 2567
เกณฑ์การให้คะแนนคือ
1. ทำถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดให้ 1 คะแนน
2. ทำบางส่วนแต่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมดตามข้อกำหนดให้ 0.5 คะแนน
3. ยังไม่ได้ทำตามข้อกำหนดให้ 0 คะแนน
Sign in to Google to save your progress. Learn more
ชื่อ - สกุล(ผู้ self audit) *
อาคาร/ห้อง *
1. มาตรฐานพื้นที่ บอร์ด 5ส ประจำหน่วยงาน *
1
0.5
0
N/A
1. แสดงข้อมูลต่างๆ ในระบบดิจิทัล โดยจัดแสดงข้อมูลในเว็บไซต์หน้าหลักของหน่วยงาน ระบุว่า “5ส Green หรือ Green 5s (ชื่อหน่วยงาน)"
2. มีผังโครงสร้างคณะกรรมการ 5ส Greenหน่วยงานพร้อมรูปถ่าย
3. มีข้อมูลแสดงการแบ่งพื้นที่และผู้รับผิดชอบ
4. มีการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณที่สามารถตรวจวัดได้ เช่น ระดับคะแนนความพึงพอใจ หรือร้อยละการดำเนินการในเรื่องต่างๆ เป็นต้น
5. มีแผนปฏิบัติกิจกรรม 5ส Green โดยมีการระบุเป้าหมายที่สามารถวัดและประเมินผลได้
6. มีข้อมูลมาตรฐานพื้นที่ 5 ส Green ที่กาหนดไว้สำหรับอ้างอิง
7. มีรูปภาพ ข้อมูล กิจกรรมตามแผนปฏิบัติกิจกรรม 5ส Green ของหน่วยงาน ก่อน และหลังการประเมินครั้งล่าสุดที่เป็นปัจจุบัน
8. มีผลคะแนน Self Audit และผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของกรรมการตรวจประเมินรอบที่ผ่านมา
2. มาตรฐานพื้นที่ ป้ายบ่งชี้ *
1
0.5
0
N/A
1. มีป้ายบ่งชี้สถานะสิ่งของ/กิจกรรมที่กำลังดำเนินการตามความจำเป็น เช่น รอแจ้งซ่อมแซม รอจำหน่าย อุปกรณ์ชำรุด บริเวณที่ไม่ปลอดภัยหรือพื้นที่เสี่ยงอันตราย เช่น ระวังลื่น พื้นชำรุด ระวังวัสดุตกหล่น ระวังชนกระจก ป้ายประตู (ผลัก ดึง push pull) เป็นต้น โดยกำหนดให้มีรูปแบบเดียวกันในหน่วนงาน (รายละเอียดที่ต้องมีกำหนดโดยส่วนกลาง ส่วนรูปแบบหน่วยงานกำหนดได้เอง)
2. การบ่งชี้ตามข้อ 1 สามารถใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เป็นสากลได้ กรณีที่ระบุเป็นตัวหนังสือ ต้องมีการระบุทั้งภาษาไทยและ/หรือภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น
3. มีข้อมูลรายละเอียดของการบ่งชี้ให้เป็นไปตามเนื้อหาที่กำหนดไว้จากกรรมการกลาง
3. มาตรฐานพื้นที่ ตู้เก็บเอกสาร/อุปกรณ์/เครื่องมือและชั้นวางของ *
1
0.5
0
N/A
1. มีการจัดทำผังบอกตำแหน่งการจัดวางตู้ พร้อมระบุชื่อผู้รับผิดชอบ และรหัสของแต่ละตู้
2. ลำดับการจัดวางลำดับของตู้/ชั้นวาง ให้เรียงจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง กำหนดให้ใช้ตัวเลขอารบิกเป็นรหัสของตู้ เฉพาะกรณีที่มีตู้มาพร้อมกับชุดโต๊ะทำงาน ไม่ต้องระบุหมายเลข
3. ในกรณีที่มีการจัดเก็บในหลายห้อง ให้มีการเรียงลำดับตัวเลขของตู้/ชั้นวางแยกเป็นของแต่ละห้อง และอาจตามด้วยโค้ดประจำห้อง
4. ให้มีป้ายดัชนีบ่งชี้แสดง รายละเอียดของเอกสาร/วัสดุอุปกรณ์ที่จัดเก็บ เพื่อให้สะดวกในการค้นหา โดยต้องเป็นรูปแบบเดียวกันในหน่วยงาน
5. จัดเก็บเอกสารต่าง/คู่มือ/หนังสือ/รายงาน/วัสดุอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่ และจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด
6. ในกรณีมีการจัดวางสิ่งของบนตู้ ให้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความปลอดภัย และของที่วางบนตู้ได้ เช่น พระ ของประดับตกแต่ง ดอกไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องไม่เป็นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
7. ไม่มีการจัดเก็บของใช้ส่วนตัว
4. มาตรฐานพื้นที่ แฟ้มเอกสาร *
1
0.5
0
N/A
1. สันแฟ้มมีตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชื่อของหน่วยงาน และดัชนีกำกับประจำแฟ้มตามที่กำหนดของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้แบบอักษรประเภทเดียวกันในขนาดที่เหมาะสม สาหรับผู้ที่จะจัดทำสันแฟ้มใหม่ อาจจะพิมพ์ตัวอักษรให้เป็นแนวตั้งเพื่อสะดวกต่อการอ่าน และการค้นหา
2. มีป้ายแสดงรายการแฟ้มเอกสารติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมและเห็นได้อย่างชัดเจน กรณีป้ายแสดงรายการแฟ้มเอกสารที่อยู่ในรูปแบบ QR Code ให้ติดตั้งในตำแหน่งที่ชัดเจน และสะดวกแก่การสแกน
3. จัดวางแฟ้มในชั้น/ตู้เก็บเอกสารให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
5. มาตรฐานพื้นที่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ *
1
0.5
0
N/A
1. มีป้ายแสดงบาร์โค้ดบริเวณด้านหลังของจอคอมพิวเตอร์ด้านบนของ Case และด้านบน ของ UPS (ถามี)
2. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต้องอยูในสภาพดี พร้อมใช้งาน มีฐานยึดที่มีความมั่นคงแข็งแรง
3. ไม่มีอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องวางบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (กรณีที่ต้องเสริมฐานรองจอคอมพิวเตอร์ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สามารถใช้ฐานวางที่มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม)
4. ไม่ติดกระดาษโน้ต สติกเกอร์หรือข้อความใด ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ **ยกเว้นป้ายเตือนเรื่องการใช้งาน เช่น ห้ามเชื่อมต่อ Thumb drive, External Hard disk เป็นต้น
5. จัดเก็บสายไฟและสายของอุปกรณ์ต่อพ่วงให้เป็นระเบียบโดยใช้เข็มขัดหรือกระดูกงู ส่วนสายไฟที่อยู่บนพื้น อาจใช้เทปกาวติดที่พื้นโดยให้เทปกาวมีสีใกล้เคียงกับสีพื้น ในกรณีที่จัดเก็บสายไฟ ต้องไม่มีการปกปิดด้วยอุปกรณ์ใด ๆ จนสังเกตความผิดปกติไม่ได้ เช่น เอากล่อง หรือสายไฟปิดทับ เป็นต้น
6. ต้องมีการติดป้ายบ่งชี้ (label) ประเภทของสายไฟให้สะดวกต่อการบำรุงรักษา
7. สะอาด ไม่มีฝุ่น และคราบสกปรก
8. ไม่วางคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งใต้เครื่องปรับอากาศ ใกล้อ่างน้ำ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีความชื้นสูง
6. มาตรฐานพื้นที่ ครุภัณฑ์สำนักงาน (โทรศัพท์/เครื่องพิมพ์) *
1
0.5
0
N/A
1. มีหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
2. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบประจำเครื่องพิมพ์ พร้อมแสดงเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อช่าง/หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
3. โทรศัพท์/เครื่องพิมพ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และสะอาด
4. สายไฟไม่ชำรุดและมีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ
5. มีกระดาษและอุปกรณ์รองรับกระดาษพร้อมใช้งาน และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ
6. จัดวางครุภัณฑ์สำนักงานในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกแก่การใช้งาน และมีความปลอดภัย เช่น เครื่องพิมพ์ ควรจัดวางนอกห้องปฏิบัติการ เป็นต้น **หากมีข้อจำกัดของพื้นที่ กำหนดให้จัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม
7. มีแผนภาพหรือสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งการจัดวางครุภัณฑ์ที่ระบุทั้งชนิด และปริมาณ ติดแสดงไว้ในตำแหน่งที่สังเกตได้ หรือจัดเก็บในแฟ้มหรือฐานข้อมูลใด ๆ เพื่อความสะดวกในการนำกลับมาวางไว้ที่เดิม
7. มาตรฐานพื้นที่ ระบบไฟฟ้า/เครื่องปรับอากาศและพัดลมดูดอากาศ *
1
0.5
0
N/A
1. อุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุด และมีความปลอดภัย
2. ไม่มีสิ่งกีดขวางการทำงานของระบบไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและพัดลมดูดอากาศ
3. ไม่มีหยากไย่บริเวณระบบไฟฟ้า/เครื่องปรับอากาศและพัดลมดูดอากาศ ยกเว้นพื้นที่ที่มีหลังคา/ระบบไฟฟ้าสูงเกิน 3 เมตร
4. มีแผนผัง แถบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ระบุตำแหน่งของระบบไฟฟ้าต่าง ๆ หรือสวิทช์ไฟได้อย่างถูกต้องและชัดเจน กรณีที่ห้องนั้น ๆ มีหลอดไฟเพียงหลอดเดียว หรือมีจุดเปิดไฟเพียงตำแหน่งเดียวไม่ต้องมีการจัดทำผังหรือสัญลักษณ์
5. ปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงพักกลางวัน หรือเมื่อไม่อยู่ในห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง
8. มาตรฐานพื้นที่ การดูแลถังดับเพลิง *
1
0.5
0
N/A
1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบของหน่วยงานสำหรับเป็นผู้ประสานกับหน่วยงานกลาง
2. ไม่มีสิ่งของกีดขวางการเข้าถึงถังดับเพลิงในระยะ 50 ซม.
3. มีป้ายแสดงเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเมื่อเกิดไฟไหม้ (0 7567 3392 หรือ 73392)
9. มาตรฐานพื้นที่ บริเวณพื้นที่โดยรอบอาคาร *
1
0.5
0
N/A
1. บริเวณรอบ ๆ อาคารต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ไม่มีกองขยะ หรืออุปกรณ์ที่เป็นอันตรายวางทิ้งไว้
2. บริเวณโรงจอดรถ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด บริเวณที่จอดมีความปลอดภัย และมีการกาหนดบริเวณพื้นที่ห้ามจอด (ถ้าจำเป็นต้องมี)
3. ระบุวิธีการที่ทำให้หน่วยงานทราบจำนวนบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานในช่วงเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน โดยต้องสามารถทราบสถานะความปลอดภัยรายบุคคลได้ในเวลาอันรวดเร็ว (ไม่กำหนดระยะเวลา แต่ให้นำระยะเวลาที่คาดการณ์ได้ มาพิจารณาในการปรับปรุงเกณฑ์ในคราวต่อ ๆ ไป)
4. ระบุวิธีการในการสร้างวินัยในการจอดรถของบุคลากรในหน่วยงานให้เป็นระเบียบ และสะดวกต่อการสัญจรในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน (หมายเหตุ สถานที่จอดรถหมายรวมถึง การจอดรถทุกประเภทที่มี)
10. มาตรฐานพื้นที่ ห้องปฏิบัติการ *
1
0.5
0
N/A
1. มีป้ายชื่อห้องปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบพร้อมเบอร์โทรศัพท์
2. มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสากลเพื่อแสดงอันตราย เช่น ป้ายเตือนทางรังสี ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นต้น (ถ้ามี)
3. มีระเบียบการใช้บริการห้องปฏิบัติการ หรือข้อปฏิบัติการแต่งกายในห้องปฏิบัติการ
4. ห้องปฏิบัติการอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีความปลอดภัย
5. มีผังห้องปฏิบัติการ พร้อมระบุเส้นทางหนีไฟในรูปแบบที่เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการ *ในการทำ Self audit ครั้งที่ 1/66 อนุโลมให้ห้องปฏิบัติการที่ยังไม่มีผัง ใส่ N/A และรออบรมการจัดทำผังห้องเพิ่มเติม
6. ระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมีความปลอดภัย
7. พื้นที่ทำงานสะอาด และไม่มีสิ่งของที่ไม่จำเป็นวางกีดขวาง
8. ชั้นเก็บของหรือตู้ลอย มีการยึดเข้ากับโครงสร้างหรือผนังอย่างแน่นหนามั่นคง (พิจารณาตามความเหมาะสมของลักษณะการใช้งาน)
9. โต๊ะปฏิบัติการ/เก้าอี้ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
10. อ่างล้าง มีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีวัสดุ อุปกรณ์ค้างทำความสะอาด
11. ครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีสภาพพร้อมใช้งาน จัดวางอย่างเหมาะสม
12. สารเคมีบนโต๊ะปฏิบัติการ มีเฉพาะที่ใช้งาน จัดวางอย่างเหมาะสม
13. พื้นที่/โต๊ะทางานของบุคลากร ในห้องเตรียมปฏิบัติการ (จัดวางของใช้ส่วนตัว ไม่เกิน 1 ใน 3 ของพื้นที่/โต๊ะทำงาน,มีป้ายบ่งชี้ “ของใช้ส่วนตัว” ที่ลิ้นชักของโต๊ะทำงาน หรือตู้ใต้เคาน์เตอร์โดยมีรูปแบบเดียวกันในหน่วยงาน,สามารถจัดเก็บของใช้ส่วนตัวได้ไม่เกิน 1 ลิ้นชักหรือ 1 ตู้/คน)
14. อุปกรณ์สำนักงาน (กรณีเป็นลิ้นชัก/ตู้ ให้มีป้ายระบุคำว่า “อุปกรณ์สำนักงาน” โดยมีรูปแบบเดียวกัน,อุปกรณ์สำนักงานมีปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้งาน จัดเก็บอย่างเป็นระบียบเรียบร้อย และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน,จำนวนของถาดเอกสาร ตะกร้าหรือชั้นวางเอกสาร ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงาน)
11. มาตรฐานพื้นที่ วัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องแก้ว/ผลิตภัณฑ์/ชิ้นงาน/ตัวอย่าง *
1
0.5
0
N/A
1. พื้นที่จัดเก็บวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องแก้ว/ผลิตภัณฑ์/ชิ้นงาน/ตัวอย่าง มีความมั่นคง แข็งแรง และเหมาะสม อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. มีป้ายบ่งชี้รายการที่จัดเก็บ
3. วัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องแก้ว/ผลิตภัณฑ์/ชิ้นงาน/ตัวอย่างที่จัดเก็บ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
4. มีบันทึกการยืม คืน
5. มีบัญชีรายการของวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องแก้ว/ผลิตภัณฑ์/ชิ้นงาน/ตัวอย่าง
12. การจัดเก็บสารเคมี *
1
0.5
0
N/A
1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบและดูแลสถานที่เก็บ/ตู้เก็บ/ชั้นวางสารเคมี
2. สถานที่เก็บ/ตู้เก็บ/ชั้นวางสารเคมี มีความปลอดภัย เหมาะสม มั่นคงแข็งแรง และพร้อมใช้งาน
3. มีป้ายบ่งชี้พื้นที่วางสารเคมีที่กำลังใช้งาน พร้อมแสดงขอบเขตที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
4. มีการจัดเก็บสารเคมีตามระบบการจัดเก็บสารเคมีของศูนย์เครื่องมือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดวางตรงตามป้ายชื่อที่ระบุหมวดหมู่ หรือตามความเหมาะสม พร้อมทั้งมีรายการหรือบันทึกการจัดเก็บ
13. มาตรฐานพื้นที่ ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์/ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ *
1
0.5
0
N/A
1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบและดูแลครุภัณฑ์ กรณีมีป้ายชื่อผู้รับผิดชอบประจำห้อง ไม่จำเป็นต้องติดป้ายที่ครุภัณฑ์
2. มีป้ายบ่งชี้หรือแผนผังเพื่อแสดงตำแหน่งการจัดวางครุภัณฑ์ ยกเว้นรายการที่มีการเคลื่อนย้ายในระหว่างการใช้งาน
3. มีการจัดเก็บครุภัณฑ์ในตู้หรือบริเวณที่กำหนดและตรงตามป้ายบ่งชี้ภายหลังเสร็จสิ้นการใช้งาน
4. จัดเก็บ/จัดวาง สายไฟ ปลั๊กไฟ ให้เหมาะสม
5. มีวิธีการใช้งานครุภัณฑ์ในรูปแบบเอกสาร หรือ QR code ตามความเหมาะสม/จำเป็นของห้องปฏิบัติการนั้น ๆ
6. มีบันทึกการใช้งานหรือการตรวจเช็คความพร้อมของครุภัณฑ์ตามความเหมาะสม/จำเป็นของห้องปฏิบัติการนั้น ๆ
7. มีป้ายแสดงชนิดของสารเคมี/วัสดุ/อาหารเลี้ยงเชื้อ/ตัวอย่าง/ชิ้นงาน ที่จัดเก็บภายในตู้แช่/ตู้เย็น พร้อมระบุชื่อผู้รับผิดชอบ/เจ้าของ
8. ตู้ดูดควัน (Fume hood)/ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar flow) หรือตู้ชีวนิรภัย (Biosafety cabinet) ต้องบ่งชี้ระยะบานเลื่อนที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยใช้สัญลักษณ์แถบสี หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสมกรณีที่มีสัญญาณเสียงหรือไฟกระพริบ ไม่ต้องใช้สัญลักษณ์แถบสี
9. ห้ามจัดเก็บสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนในตู้ดูดควัน (Fume hood) กรณีที่มีจัดเก็บสารเคมีที่ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน จะต้องระบุชนิดพร้อมชื่อผู้รับผิดชอบ
14. มาตรฐานพื้นที่ การจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ (Waste) *
1
0.5
0
N/A
1. มีการจำแนกประเภท/การจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ ตามระบบมาตรฐานการจัดการของเสียของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจัดวาง/จัดเก็บตรงตามป้ายที่ระบุ
2. มีป้ายบ่งชี้เพื่อระบุตำแหน่งที่วางของเสีย/สารเคมีที่ไม่ใช้แล้วในห้องปฏิบัติการระหว่างรอกำจัด
3. มีบันทึกการจัดเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการตามแบบฟอร์มของระบบมาตรฐานการจัดการของเสียของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
15. มาตรฐานพื้นที่ ถังขยะ *
1
0.5
0
N/A
1. มีการแยกประเภทของถังขยะพร้อมป้ายบ่งชี้ตามความเหมาะสม
2. จัดวางถังขยะในบริเวณที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และไม่กีดขวางทางเดิน และมีจำนวนที่เหมาะสมกับการใช้งาน
3. บ่งชี้ตำแหน่งการจัดวางถังขยะ (โดยไม่ต้องติดบนพื้น เนื่องจากเป็นอุปสรรคต่อการบำรุงรักษาพื้นที่ในการปฏิบัติงานประจำวัน)
16. มาตรฐานพื้นที่ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ *
1
0.5
0
N/A
1. มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของห้องปฏิบัติการ เช่น อ่างล้างตา (Eye wash station) ฝักบัวฉุกเฉิน (Emergency shower) ชุดเก็บกู้สารเคมีรั่วไหล (Spill kit) เป็นต้น
2. อุปกรณ์มีจำนวนที่เหมาะสม อยู่ในสภาพดี ไม่ชำรุด และพร้อมใช้งาน
3. มีป้ายกำหนดตำแหน่ง/พื้นที่จัดวางทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หรือป้ายสัญลักษณ์ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
4. มีวิธีการใช้งานของอุปกรณ์ เช่น อ่างล้างตา (Eye wash station) ฝักบัวฉุกเฉิน (Emergency shower) เป็นต้น อยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้สะดวก
5. มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมระบุชื่อรายการและวันหมดอายุ
17. มาตรฐานพื้นที่ การจัดการระบบก๊าซในห้องปฏิบัติการ *
1
0.5
0
N/A
1. เก็บถังก๊าซโดยมีอุปกรณ์ยึดที่แข็งแรง ถังก๊าซทุกถังต้องมีสายคาด 2 ระดับ หรือโซ่ยึดกับผนัง โต๊ะปฏิบัติการ ยกเว้นถังก๊าซหุงต้มขนาดบรรจุไม่เกิน 15 กิโลกรัม *ในการทำ Self audit ครั้งที่ 1/66 อนุโลมให้ห้องปฏิบัติการที่ยังไม่มีการยึดถังแบบ 2 ระดับ ระบุในช่องหมายเหตุ เพื่อทำแผนติดตั้งเพิ่มเติม
2. ถังก๊าซที่ไม่ได้ใช้งาน (ยังมีก๊าซบรรจุอยู่) ต้องมีฝาครอบหัวถังหรือมี guard ป้องกันหัวถัง ยกเว้นถังก๊าซหุงต้ม *ในการทำ Self audit ครั้งที่ 1/66 อนุโลมให้ห้องปฏิบัติการที่ยังไม่มีฝาครอบหัวถัง ระบุในช่องหมายเหตุ เพื่อทำแผนติดตั้งเพิ่มเติม
3. แยกเก็บถังก๊าซเปล่าและถังก๊าซที่ยังไม่ได้ใช้งาน (ยกเว้นมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่) พร้อมติดป้ายระบุสถานะไว้อย่างชัดเจน
4. สถานที่วางถังก๊าซมีความปลอดภัย ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดไฟ และเส้นทางสัญจรหลัก (ยกเว้นมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่) และมีป้ายบ่งชี้ติดตั้งในที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ป้ายก๊าซไวไฟ ป้ายแจ้งเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัย เป็นต้น
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy