แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำการสำรวจทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรและจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน


คำชี้แจง: แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉบับนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ในโครงการวิจัยแบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Attitude test) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อจัดทำแบบประเมินทัศนคติที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ (e-Attitude Test) ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อสำรวจ วิเคราะห์ และแปลผลทัศนคติเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดอบรมและจัดทำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่ดีสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขายแดนภาคใต้ ทั้งนี้แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีรายละเอียดดังนี้

    1. แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 5 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน 14 ข้อ
        ตอนที่ 2 ทัศนคติด้านปัญญา (Cognitive Component) ประกอบด้วย: การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) สมรรถนะตามลักษณะงาน (Competency) และ จิตบริการ (Service Mind) จำนวน 10 ข้อ
        ตอนที่ 3 ทัศนคติด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Affective Component) จำนวน 10 ข้อ
        ตอนที่ 4 ทัศนคติด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Behavioral Component) จำนวน 10 ข้อ
        ตอนที่ 5 ความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 ข้อ

            2. แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในตอนที่ 2, 3, 4 เป็นการประเมินตนเอง โดยได้แบ่งระดับความคิดเห็นไว้ 5 ระดับ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตอบแบบประเมินเลือกระดับที่ตรงกับความคิดเห็น ความรู้สึกของตนเองมากที่สุด คือ
        5 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
        4 เห็นด้วย
        3 เฉยๆ หรือ ไม่แน่ใจ
        2 ไม่เห็นด้วย
        1 ไม่เห็นควรอย่างยิ่ง

            3. แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอนที่ 5 เป็นการแสดงความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคำถามแบบเปิด

            4. แบบประเมินทัศนคติสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
        4.1 ความคาดหวังต่อตนเองเป็นความคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงของตนเองในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อให้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นประสบความสำเร็จ เช่น การเปลี่ยนแปลงในด้านทักษะการใช้ภาษาถิ่นการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นต้น
        4.2 ความคาดหวังต่อองค์กรเป็นความคาดหวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ตนเองสังกัดในการให้บริการหรือการดำเนินภารกิจตามพันธกิจองค์กรทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายหรือระดับการปฏิบัติการ เช่น นโยบาย หรือ ระบบการให้บริการที่คำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้รับบริการ
        4.3 ความคาดหวังต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความคาดหวังที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสังคม ชุมชน ท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม หรือ สถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

Sign in to Google to save your progress. Learn more
Email *

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมินทัศนคติ

1. เพศ 

*

2. อายุ  (นับถึงวันที่ท่านตอบแบบประเมิน)

*
ตัวอย่างเช่น  30 ปี  4 เดือน 10 วัน  

3. สถานภาพ

*

4. ศาสนาที่ท่านนับถือ

*

5. ภูมิลำเนาของท่าน

*

6. การศึกษาสูงสุดในระบบสายสามัญ

*

7. การศึกษาสูงสุดในระบบสายศาสนาของท่าน (อิสลาม หากท่านนับถือศาสนาอื่นให้ข้าม)

Clear selection

8. การศึกษาสายสูงสุดในระบบของสายศาสนาของท่าน (พุทธ หากท่านนับถือศาสนาอื่นให้ข้าม)

Clear selection

9. ประเภทของการเป็นบุคลากรภาครัฐ

*

10. ลักษณะงาน

*

11. ตำแหน่งปัจจุบัน

*

12. สถานที่ทำงานปัจจุบัน

*

13. อายุราชการของท่าน (นับถึงวันที่ท่านตอบแบบประเมิน)

*
ตัวอย่าง เช่น 8 ปี  4 เดือน 10 วัน

14. จำนวนปีที่ท่านปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นับถึงวันที่ท่านตอบแบบประเมิน)

*
ตัวอย่าง เช่น 3 ปี  4 เดือน 10 วัน

ตอนที่ 2 ทัศนคติด้านปัญญา (Cognitive Component) 

*
5
4
3
2
1
1.ท่านพยายามศึกษาและเรียนรู้การใช้ภาษามลายูถิ่นเพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารงาราชการได้สะดวกขึ้น
2.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ เช่น วันสำคัญ เทศกาลสำคัญ สถานที่สำคัญ จะช่วยในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงกลุ่มวัฒนธรรมมลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชายแดนภาคใต้ จะช่วยในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรทางสังคมและองค์กรทางศาสนาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้จะช่วยในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
5.ท่านเห็นว่าการอยูร่วมกับคนที่มีความหลายทางภาษาและวัฒนธรรมก่อให้เกิดการเรียนรู้และจะช่วยในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
6.หากท่านเข้าใจระบบและกลไก กระบวนการ และขั้นตอนการให้บริการในงานที่ท่านรับผิดชอบและการบูรณาการเชื่อมโยงการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวม จะช่วยในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานการให้บริการในงานที่ท่านรับผิดชอบและบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในภาพรวม จะช่วยในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
8.ความหลากหลายของเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมทำให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
9.หากหน่วยงานมอบหมายให้ท่านไปทำงานร่วมกับชุมชนหรือพื้นที่ ท่านสามารถเดินทางไปปฏิบัติงานโดยไม่ลังเล
10. ท่านสามารถปรับตัวและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในระบบการทำงานหากมีผู้รับบริการต่างภาษา และวัฒนธรรม

ตอนที่ 3 ทัศนคติด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Affective Component)

*
5
4
3
2
1
1.ท่านชอบการทำงานร่วมกันระหว่างคนที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อการสร้างสัมพันธสภาพที่ดีต่อกัน
2.ท่านชอบการทำงานร่วมกับผู้คนจากกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่าง หลากหลาย ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
3.ท่านชอบวัฒนธรรมของท่าน วัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมอื่นๆในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
4.ท่านชอบที่จะเรียนรู้และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของทุกกลุ่มวัฒนธรรมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
5.ท่านชอบในการทำงานกับผู้คนจากกลุ่มวัฒนธรรมที่นับถือศาสนาอิสลามและใช้ภาษามลายูเป็นภาษาท้องถิ่น ในการปฏิบัติงานและการให้บริการของท่านในพื้นที่ชายแดนใต้
6.ท่านชอบในการใช้ภาษาที่หลากหลายของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ และชอบในการร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
7.ท่านคิดว่าความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนใต้
8.เมื่อท่านเข้าร่วมกิจกรรมต่างวัฒนธรรมทำให้รู้สึกแปลกแยก
9.ท่านรู้สึกไม่สบายใจเมื่อเจอเพื่อนร่วมงานหรือผู้รับบริการที่สื่อสารโดยใช้ภาษามลายูถิ่น
10.ท่านรู้สึกมีความภาคภูมิใจและยินดีที่ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่

ตอนที่ 4 ทัศนคติด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Behavioral Component)

*
5
4
3
2
1
1.ท่านทักทายและสื่อสารกับประชาชนที่มาใช้บริการหรือทำงานร่วมกันด้วยภาษามลายูหากพบว่าเขามาจากกลุ่มวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ท่านไม่พูดหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ เพียงบางส่วนบางเหตุการณ์หรือบางช่วงเวลา
3.ท่านทบทวนคำพูดของประชาชนที่มารับบริการด้วยภาษาถิ่นของประชาชนที่มาติดต่อ หรือ ใช้ภาษาไทยแบบง่าย พูดช้าๆ และชัดเจน รับบริการเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
4.ท่านหมั่นหาข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับบริบทของพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น
5.ท่านให้บริการกับผู้รับบริการทุกคนเท่าเทียมกัน
6.ท่านคิดว่าความรู้ความเข้าใจบริบทในพื้นที่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนใต้
7.ท่านอยากทักทายสื่อสารกับประชาชนที่มาใช้บริการด้วยภาษามลายูถิ่น
8.ท่านอยากจะเรียนภาษามลายูถิ่นเพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารสะดวกในการปฏิบัติงานในพื้นที่
9.ท่านมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานทุกครั้งเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความประทับใจ
10.ท่านพร้อมเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่

ตอนที่ 5 ความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

5.1 ความคาดหวังต่อตนเอง

*

5.2 ความคาดหวังต่อองค์กร

*

5.3 ความคาดหวังต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้

*
ขอขอบคุณ
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. Report Abuse