ใบสมัครเข้าร่วม Social Listening for Better Local Governance การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับจากการรับฟังเสียงของประชาชนจากสื่อสังคมออนไลน์สำหรับ อปท.

1.    หลักการและเหตุผล

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ความครอบคลุมของสัญญาณอินเทอร์เน็ต และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล สื่อสังคมและแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ กลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้การดำเนินนโยบายและการจัดทำบริการสาธารณะในท้องถิ่นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินนโยบายและจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในกิจการของตนให้ได้มากที่สุด  การประเมินผลการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเพื่อเสนอขอรับเงินรางวัลประจำปีสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างมีคะแนนสำหรับการใช้งานสื่อสังคมเพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์และรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ขององค์กรปกครองท้องถิ่นด้วย  ฉะนั้น ปรากฏการณ์ ข้อมูลเชิงสถิติ และข้อค้นพบจากงานวิจัยในระยะที่ผ่านมา ล้วนนำไปสู่ข้อสรุปว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีตัวตนในโลกออนไลน์ในช่องทางต่าง ๆ  เครื่องมือดิจิทัล สื่อดิจิทัล สื่อสังคม และแพลตฟอร์มการติดต่อสื่อสารอื่น ๆ มิได้เป็นทางเลือกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหยิบยกขึ้นมาใช้งานได้ตามอำเภอใจ หากแต่เป็นช่องทางหลักที่มีความสำคัญไม่แพ้ช่องทางแบบดั้งเดิม เพื่อให้การจัดการปกครองท้องถิ่นยังประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชน

การรับฟังเสียงจากสื่อสังคม (Social Listening) หมายถึง กระบวนการในการติดตาม รวบรวม และวิเคราะห์การสนทนาบนสื่อสังคม (Social Media) และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ เพื่อรายงานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นและกิจกรรมการสื่อสารในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง  กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลหัวข้อ คำสำคัญ และแนวโน้มจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ และใช้ข้อมูลนี้เพื่อทำความเข้าใจความต้องการและความพึงพอใจ (Preference) ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้ใช้สินค้า ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือประชาชนโดยทั่วไป  การใช้เครื่องมือและแนวคิดการรับฟังจากสื่อสังคมมีประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายประการ อาทิ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ป้องกันและรับมือภาวะวิกฤตได้ทันท่วงที พัฒนาและปรับปรุงนโยบาย เสริมสร้างความไว้วางใจของประชาชน และยกระดับกลยุทธ์การสื่อสาร

 2.    วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเสริมการประยุกต์ใช้แนวคิดการรับฟังเสียงของประชาชนในการพัฒนาคุณภาพการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 3.    กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 40 คน จำแนกเป็น

1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่วิจัยของโครงการ ขอให้มอบหมายผู้เข้าร่วม เช่น ปลัดเทศบาล นักประชาสัมพันธ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการรับฟังข้อร้องเรียนจากประชาชน สังกัดเทศบาลนคร 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี แห่งละ 5 คน รวม 20 คน

2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไป จำนวนรวม 20 คน

Sign in to Google to save your progress. Learn more
กลุ่มเป้าหมาย *
คำนำหน้าชื่อ *
ชื่อ *
นามสกุล *
ตำแหน่ง *
กอง/สำนัก *
สังกัด (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) *
จังหวัด *
หมายเลขโทรศัพท์มือถือ *
อีเมล *
เคยเข้าร่วมกิจกรรมของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาก่อนหรือไม่ *
สิ่งที่คาดหวังจากการเข้าร่วม
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of Khon Kaen University. Report Abuse